Mr. Somboon Kangsanonkul

Module อุปกรณ์โมดูลระบุตำแหน่ง

Addressable Modules

 

NOTIFIER FIRE ALARM SYSTEM

 

อุปกรณ์โมดูลระบุตำแหน่ง (Addressable Modules) ต่างๆ หรือ Remote Terminal Unit (RTU)

เป็นหน่วยรับ – ส่งสัญญาณ Digital Signal จาก Detector หรือ Switch แล้วแปลงเป็น Multiplex

Signal ส่งไปยังตู้ควบคุม (Fire Alarm Control Panel) อีกครั้ง และในทางตรงข้ามสัญญาณคำสั่ง

จากตู้ควบคุม (FACP) สามารถส่งไปยังตัว Module หรือ Remote Terminal Unit (RTU) ให้

แปลงเป็น Digital Output ไปใช้สั่งงานให้อุปกรณ์ส่งสัญญาณแจ้งเตือนต่างๆ ทำงานต่อไป โดย

อุปกรณ์ Module หรือ Remote Terminal Unit (RTU) จะมี Address Setting Mean เพื่อกำหนด

ที่อยู่ของพวกอุปกรณ์ Detectors กับ Switch แต่ละตัว เช่น Monitor Module เป็นอุปกรณ์ที่รับ

สัญญาณขาเข้าแบบอินพุท (Input) ซึ่งใช้ต่อกับอุปกรณ์เริ่มสัญญาณ (Initiating Device) แบบ

Conventional Devices หรือ Detector Zone เพื่อรับสัญญาณการตรวจจับจากอุปกรณ์เริ่ม

สัญญาณต่างๆ แล้วส่งสัญญาณไปแจ้งตำแหน่งตรวจจับที่ตู้ควบคุม (FCP) ส่วน Control Module

จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งสีญญาณขาออกแบบเอาท์พุท ซึ่งใช้ต่อกับ อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือน

(Signalling Alarm Devices) แบบ Supervised หรือ Alarm Zone โดยทำหน้าที่รับสัญญาณ

สั่งการควบคุมจากตู้ควบคุม (FACP) แล้วส่งสัญญาณออกไปสั่งการให้อุปกรณ์ส่งสัญญาณ

เตือนต่างๆ แจ้งสัญญาณเตือนตามที่กำหนด

 

อุปกรณ์โมดูลระบุตำแหน่ง (Addressable Module) ต่างๆ จะมีอยู่ 8 ชนิด คือ

 

1. มอนิเตอร์อินเตอร์เฟสโมดูล (Monitor Interface Module) จะเป็นโมดูลระบุตำแหน่ง แบบ

อินพุทที่ต้องมีไฟเลี้ยง (Power Resetable) ให้อุปกรณ์ประเภทที่ต้องอาศัย การรีเซ็ต

(Resetable) จากการหยุดจ่ายไฟชั่วขณะ ซึ่งมีหน้าที่ไปสั่งงานควบคุม (Supervises IDC)

พวกอุปกรณ์เริ่มสัญญาณ (Initiating Devices) แบบ Conventional ชนิดการเดินระบบ

แบบ 2 สาย (2-Wire) Class-B เช่น

  อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) หรือเฉพาะอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน แบบ

  อิเล็คโทรนิคส์ (Electronic Heat Detector) หรือ อุปกรณ์ตรวจจับควัน ภายในท่อ

  (Duct Smoke) หรือ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station) เป็นต้น

 

2. ดูอัลมอนิเตอร์โมดูล (Dual Monitor Modules) จะเป็นโมดูลระบุตำแหน่ง แบบมีสองอินพุท

ในตัว (Two IDC) ที่ต้องมีไฟเลี้ยง (Power Resetable) ให้พวกตัวอุปกรณ์ประเภทที่ต้องอาศัย

การรีเซ็ต (Resetable) จากการหยุดจ่ายไฟชั่วขณะ ซึ่งมีหน้าที่ไปสั่งงานควบคุม (Supervises

IDC)อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ (Initiating Devices) แบบ Conventional ชนิดการเดินระบบ แบบ

2 สาย (2-Wire) Class-B เช่น อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) หรือเฉพาะอุปกรณ์

ตรวจจับความร้อน แบบ อิเล็คโทรนิคส์ (Electronic Heat Detector) หรือ อุปกรณ์ตรวจจับควัน

ภายในท่อ (Duct Smoke) หรือ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station) เป็นต้น

 

3. มอนิเตอร์โมดูล (Monitor Module) เป็นโมดูลระบบตำแหน่ง ชนิด Dry-Contact Normal

Open แบบอินพุท ที่ไม่ต้องมีไฟเลี้ยง (Non-Power Resetable) จึงไม่ต่อสายไฟเลี้ยงที่โมดูล

ใช้กับตัวอุปกรณ์ที่ไม่ต้องอาศัยการรีเซ็ต (Non-Resetable) ในคัว กับพวกอุปกรณ์ที่ไม่ต้องมีไฟ

เลี้ยง รองรับการต่อสายได้ทั้งแบบ 2 สาย (2-Wire) Class-B กับ 4 สาย (4-Wire) Class-A

เช่น ตัวอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน แบบแม็คคานิคส์ (Mechanical Heat Detector) หรือ อุปกรณ์

แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station) แบบต่างๆ หรือ คีย์สวิทซ์ (Keyswitch) หรือ อุปกรณ์ตรวจ

จับควัน ด้วยลำแสงบีม (Projected Beam Smoke Detector) หรือ อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ

(Flame Detector) แบบต่างๆ หรือ อุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส (GAS Detector) หรือ จะใช้ตรวจเช็ค

(Monitoring) สถานะของอุปกรณ์อื่น เช่น Flow Switch และ Supervisory Switch จาก

Fire Pump System กับ Automatic Water Sprinkler System เป็นต้น

 

4. มินิมอนิเตอร์โมดูล (Mini Monitor Module) เป็นโมดูลระบบตำแหน่ง ชนิด Dry-Contact N.O.

  แบบอินพุท กับ มีขนาดเล็ก ที่ไม่ต้องมีไฟเลี้ยง (Non-Power Resetable) จึงไม่ต่อสายไฟเลี้ยง

  ที่โมดูล ใช้กับตัวอุปกรณ์ที่ไม่ต้องอาศัยการรีเซ็ต (Non-Resetable) ในคัว กับพวกอุปกรณ์ที่ไม่

  ต้องมีไฟเลี้ยง รองรับการต่อสาย แบบ 2 สาย (2-Wire) Class-B เช่น อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน

  แบบแม็คคานิคส์ (Mechanical Heat Detector) หรือ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ

  (Manual Station) แบบต่างๆ หรือ คีย์สวิทซ์ (Keyswitch) หรือ จะใช้ตรวจเช็ค

  (Monitoring) สถานะของอุปกรณ์อื่น เช่น Flow Switch และ Supervisory Switch จาก

  Fire Pump System และ Automatic Water Sprinkler System หรือ ใช้เป็นตัว

  ควบคุมการสั่งงาน สวิทซ์ควบคุม (Control Switch) ต่างๆ

 

5. คอนโทรลโมดูล (Control Module) จะเป็นโมดูลระบุตำแหน่ง แบบเอาท์พุท ที่ต้องต่อไฟเลี้ยง

  (Power Non-Resetable) เพื่อจ่ายกระแสไฟส่งให้ อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือน (Signalling

  Alarm Device) แบบ Supervises หรือ Alarm Zone หรือ Sound Zone หรือ Telephone

  Zone เมื่อได้รับสัญญาณจากตู้ควบคุม (FCP) ก็จะไปสั่งงานควบคุมการแจ้งเตือนของอุปกรณ์

  ส่งสัญญาณเตือน เช่น กระดิ่ง (Bell) หรือ ฮอร์น (Horn) หรือ แสงไฟกระพริบ (Strobe)

  หรือ ลำโพง (Speaker) หรือ เต้ารับโทรศัพท์ติดต่อดับเพลิง (Fire Telephone Jack) เป็นต้น

 

6. รีเลย์โมดูล (Relay Module) เป็นโมดูลระบบตำแหน่ง แบบรีเลย์เอาท์พุท (2 N.O./2 N.C.)

  ที่ต้องมีไฟเลี้ยง (Power Non-Resetable) เพื่อไปสั่งงานควบคุมอุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ

  โดยเชื่อมต่อไปควบคุมอุปกรณ์อื่นๆ ได้ทั้งแบบควบคุมการเปิด N.O. (Normal Open) กับ

  แบบควบคุมการปิด N.C. (Normal Close) ของอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้

  ? ไปสั่งงาน แผงควบคุมลิฟต์ (Lift Controller) ทุกชุด เพื่อควบคุมให้ลิฟต์ทุกๆ ชุดเข้าสู่สภาวะ

      การทำงานฉุกเฉิน (Fire Mode) เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้

  ? ไปสั่งงาน แผงควบคุมของ Air Handling Unit ทุกชุด เพื่อให้ระบบ AHU กับอุปกรณ์ประกอบ

      หยุดทำงาน (Shut Down) เป็นโซนๆ หรือหยุดทำงานทั้งหมด

  ? ไปสั่งงาน แผงควบคุมของ พัดลมอัดอากาศ (Pressurized Fan) กับพัดลมระบายควัน

      (Smoke Exhaust Fan) กับอุปกรณ์ลิ้นกันควัน (Smoke Damper) และอุปกรณ์ประกอบ

      ทุกชุด เพื่อไปสั่งให้พัดลมทำงานตามฟังก์ชั่นที่กำหนด

  ? ไปตรวจเช็คสถานะ (Monitor) ของ แผงควบคุมของ ระบบปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump) และ

      Jockey Pump และ Booster Pump ว่าทำงานหรือไม่

  ? ไปสั่งงาน แผงควบคุมของ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง (Stand By Generator) ให้เริ่ม (Start)

      ทำงานตามที่กำหนดเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้

  ? แผงควบคุมของระบบ Access Control เพื่อให้ระบบควบคุม สั่งให้ประตูที่ควบคุมใน

      ระบบคลายล็อค หรือปลดล็อค เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้

 

7. Isolator Module จะเป็นโมดูลระบุตำแหน่ง สำหรับป้องกันการลัดวงจร (Short Circuit) ในสาย

  นำสัญญาณข้อมูลลูป (Addressable Data Loop Line) ซึ่งจะใช้สำหรับป้องกันการลัดวงจรของ

  อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในลูปเดียวกัน หากเกิดการลัดวงจรขึ้นอุปกรณ์ที่เกิดการลัดวงจรจะถูกตัดการ

  ทำงาน แต่ตัวอุปกรณ์โมดูลระบุตำแหน่ง (Addessable Module) ตัวอื่นๆ ในลูปเดียวกันจะยังคง

  ทำงานได้ตามปกติ (Short Circuit Isolator) โดยแยกวงจรสัญญาณที่สายลัดวงจรออกจากระบบ

  เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับระบบ กับอุปกรณ์โมดูลฯ และตู้ควบคุม

 

8. Lamp Driver Module จะเป็นแลมป์ไดร์เวอร์โมดูลระบุตำแหน่ง สำหรับแสดงผลการทำงาน

  ของการแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้จากตู้ควบคุม (FACP) ไปแสดงผลที่ดวงไฟ (LED) บนตู้แผน

  ผังแสดงผลจุดเกิดเหตุเพลิงไหม้ (Graphic Annunciator) โดยนำการ์ดโมดูลชนิดนี้ไป

  ต่อเชื่อมภายใน ตู้แผนผังแสดงผล (ANN) แล้วเชื่อมข้อมูลสัญญาณระบบกับ ตู้ควบคุม (FACP)

  ผ่านทาง RS-485

 

 

Intelligent / Addressable Devices

 

 

Monitor Interface Module Model. FZM-1

 

– มอนิเตอร์อินเตอร์เฟสโมดูล

– เป็นโมดูลระบุตำแหน่ง แบบหนึ่งอินพุท

– แบบที่ต้องมีไฟเลี้ยง (Power Resetable) ให้อุปกรณ์ประเภทที่ต้องอาศัย การรีเซ็ต

  (Resetable) จากการหยุดจ่ายไฟชั่วขณะ

– ใช้ระบบชนิด Flashscan ใหม่ที่มีคุณสมบัติ (โปรโตคอล) ในการติดต่อสี่อสารที่รวดเร็วกว่า
  ชนิดระบบ Clip Mode เดิม

– มี Rotary, decimal addressing เพื่อกำหนดที่อยู่ของอุปกรณ์ ในระบบ FlashScan ได้

  1 – 159 ตำแหน่ง ในระบบ CLIP ได้ 1 – 99

– สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) แบบ 2 สาย (Two-Wire)

– มีดวงไฟ LED แสดงผลการทำงาน โดยจะหระพริบทุก 5 วินาที

– ใช้แรงดันไฟฟ้าปกติในการทำงาน 15 ถึง 32 โวลต์ดีซี

– ใช้กระแสไฟสูงสุด 5.1 มิลลิแอมป์ (LED on)

– ค่าความต้านทานสายที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ในวงจรสูงสุด 25 โอห์ม (ohms.)

– ค่าเฉลี่ยของกระแสไฟในการทำงาน 300 ?A กับ 1 การสื่อสาร และ 1 การหระพริบ LED

– ใช้ค่าของการปิดอุปกรณ์ตัวสุดท้าย (E.O.L.) เป็น 3.9K ohms.

– รองรับแรงดันไฟฟ้าจากตู้จ่ายไฟเลี้ยงภายนอก แบบ 24 โวลต์ดีซี

– ช่วงอุณหภูมิในการทำงาน 0 ถึง 49 องศาเซลเซียส (0?C to 49?C)

– ช่วงความชื้นในการทำงาน 10 ถึง 93 เปอร์เซ็นต์ (10% to 93% noncondensing)

– ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุปกรณ์แจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย UL , ULC , FM ,CSFM ,MEA

 

ดาวน์โหลด Data Sheet อุปกรณ์ FZM-1 »

 

 

 

Dual Monitor Module Model. FDM-1

 

– ดูโอมอนิเตอร์โมดูล

– เป็นโมดูลระบุตำแหน่ง แบบคู่ มีสองอินพุท

– แบบที่ต้องมีไฟเลี้ยง (Power Resetable) ให้อุปกรณ์ประเภทที่ต้องอาศัย การรีเซ็ต

  (Resetable) จากการหยุดจ่ายไฟชั่วขณะ

– ใช้ระบบชนิด Flashscan ใหม่ที่มีคุณสมบัติ (โปรโตคอล) ในการติดต่อสี่อสารที่รวดเร็วกว่า
  ชนิดระบบ Clip Mode เดิม

– มี Rotary, decimal addressing เพื่อกำหนดที่อยู่ของอุปกรณ์ ในระบบ FlashScan ได้

  1 – 159 ตำแหน่ง ในระบบ CLIP ได้ 1 – 99

– สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) แบบ 2 สาย (Two-Wire)

– มีดวงไฟ LED แสดงผลการทำงาน โดยจะหระพริบทุก 5 วินาที

– ใช้แรงดันไฟฟ้าปกติในการทำงาน 15 ถึง 32 โวลต์ดีซี

– ใช้กระแสไฟสูงสุด 6.4 มิลลิแอมป์ (LED on)

– ค่าความต้านทานสายที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ในวงจรสูงสุด 1,500 โอห์ม (ohms.)

– ค่าเฉลี่ยของกระแสไฟในการทำงาน 750 ?A กับ 1 การสื่อสาร และ 1 การหระพริบ LED

– แรงดันไฟฟ้าในวรจร (IDC) สูงสุด 11 โวลต์

– ใช้กระแสไฟฟ้าในวรจร (IDC) สูงสุด 240 ?A

– ใช้ค่าของการปิดอุปกรณ์ตัวสุดท้าย (E.O.L.) เป็น 47K ohms.

– ค่าความต้านทานสายในลูป (SLC) สูงสุด 40 โอห์ม (ohms.)

– รองรับแรงดันไฟฟ้าจากตู้จ่ายไฟเลี้ยงภายนอก แบบ 24 โวลต์ดีซี

– ช่วงอุณหภูมิในการทำงาน 0 ถึง 49 องศาเซลเซียส (0?C to 49?C)

– ช่วงความชื้นในการทำงาน 10 ถึง 93 เปอร์เซ็นต์ (10% to 93% noncondensing)

– ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุปกรณ์แจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย UL , ULC , FM ,CSFM ,MEA

 

ดาวน์โหลด Data Sheet อุปกรณ์ FDM-1 »

 

 

 

Monitor Module Model. FMM-1

 

– มอนิเตอร์โมดูล

– เป็นโมดูลระบุตำแหน่ง แบบหนึ่งอินพุท

– แบบที่ไม่ต้องมีไฟเลี้ยง (Non-Power Resetable) จึงไม่ต่อสายไฟเลี้ยงที่โมดูล ใช้กับตัว

  อุปกรณ์ที่ไม่ต้องอาศัยการรีเซ็ต (Non-Resetable) ในคัว กับพวกอุปกรณ์ที่ไม่ต้องมีไฟเลี้ยง

– ใช้ระบบชนิด Flashscan ใหม่ที่มีคุณสมบัติ (โปรโตคอล) ในการติดต่อสี่อสารที่รวดเร็วกว่า
  ชนิดระบบ Clip Mode เดิม

– มี Rotary, decimal addressing เพื่อกำหนดที่อยู่ของอุปกรณ์ ในระบบ FlashScan ได้

  1 – 159 ตำแหน่ง ในระบบ CLIP ได้ 1 – 99

– สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตรวจจับที่ไม่ต้องมีไฟเลี้ยง และอุปกรณ์ที่จะควบคุมสั่งงานภายนอก

– มีดวงไฟ LED แสดงผลการทำงาน โดยจะหระพริบทุก 5 วินาที

– ใช้แรงดันไฟฟ้าปกติในการทำงาน 15 ถึง 32 โวลต์ดีซี

– ใช้กระแสไฟสูงสุด 5.0 มิลลิแอมป์ (LED on)

– ค่าความต้านทานสายที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ในวงจรสูงสุด 40 โอห์ม (ohms.)

– ค่าเฉลี่ยของกระแสไฟในการทำงาน 350 ?A กับ 1 การสื่อสาร และ 1 การหระพริบ LED

– ใช้ค่าของการปิดอุปกรณ์ตัวสุดท้าย (E.O.L.) เป็น 47K ohms.

– ช่วงอุณหภูมิในการทำงาน 0 ถึง 49 องศาเซลเซียส (0?C to 49?C)

– ช่วงความชื้นในการทำงาน 10 ถึง 93 เปอร์เซ็นต์ (10% to 93% noncondensing)

– ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุปกรณ์แจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย UL , ULC , FM ,CSFM ,MEA

 

ดาวน์โหลด Data Sheet อุปกรณ์ FMM-1 »

 

 

 

Mini Monitor Module Model. FMM-101

 

– มินิมอนิเตอร์โมดูล

– เป็นโมดูลระบุตำแหน่ง แบบหนึ่งอินพุท

– แบบที่ไม่ต้องมีไฟเลี้ยง (Non-Power Resetable) จึงไม่ต่อสายไฟเลี้ยงที่โมดูล ใช้กับตัว

  อุปกรณ์ที่ไม่ต้องอาศัยการรีเซ็ต (Non-Resetable) ในคัว กับพวกอุปกรณ์ที่ไม่ต้องมีไฟเลี้ยง

– ใช้ระบบชนิด Flashscan ใหม่ที่มีคุณสมบัติ (โปรโตคอล) ในการติดต่อสี่อสารที่รวดเร็วกว่า
  ชนิดระบบ Clip Mode เดิม

– มี Rotary, decimal addressing เพื่อกำหนดที่อยู่ของอุปกรณ์ ในระบบ FlashScan ได้

  1 – 159 ตำแหน่ง ในระบบ CLIP ได้ 1 – 99

– สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตรวจจับที่ไม่ต้องมีไฟเลี้ยง และอุปกรณ์ที่จะควบคุมสั่งงานภายนอก

– ใช้แรงดันไฟฟ้าปกติในการทำงาน 15 ถึง 32 โวลต์ดีซี

– ค่าความต้านทานสายที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ในวงจรสูงสุด 40 โอห์ม (ohms.)

– ค่าเฉลี่ยของกระแสไฟในการทำงาน 350 ?A กับ 1 การสื่อสารทุก 5 วินาที

– แรงดันไฟฟ้าในวรจร (IDC) สูงสุด 11 โวลต์

– ใช้กระแสไฟฟ้าในวรจร (IDC) สูงสุด 400 ?A

– ใช้ค่าของการปิดอุปกรณ์ตัวสุดท้าย (E.O.L.) เป็น 47K ohms.

– ช่วงอุณหภูมิในการทำงาน 0 ถึง 49 องศาเซลเซียส (0?C to 49?C)

– ช่วงความชื้นในการทำงาน 10 ถึง 93 เปอร์เซ็นต์ (10% to 93% noncondensing)

– ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุปกรณ์แจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย UL , ULC , FM ,CSFM ,MEA

 

ดาวน์โหลด Data Sheet อุปกรณ์ FMM-101 »

 

 

 

Control Module Model. FCM-1

 

– คอนโทรลโมดูล

– เป็นโมดูลระบุตำแหน่ง แบบหนึ่งเอาท์พุท

– แบบที่ต้องมีไฟเลี้ยงแต่ไม่ต้องรีเซ็ต (Power Non-Resetable)

– ใช้ระบบชนิด Flashscan ใหม่ที่มีคุณสมบัติ (โปรโตคอล) ในการติดต่อสี่อสารที่รวดเร็วกว่า
  ชนิดระบบ Clip Mode เดิม

– มี Rotary, decimal addressing เพื่อกำหนดที่อยู่ของอุปกรณ์ ในระบบ FlashScan ได้

  1 – 159 ตำแหน่ง ในระบบ CLIP ได้ 1 – 99

– สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ส่งสัญญาณแจ้งเตือน (Signalling Alarm Device) ต่างๆ

– มีดวงไฟ LED แสดงผลการทำงาน โดยจะหระพริบทุก 5 วินาที

– ใช้แรงดันไฟฟ้าปกติในการทำงาน 15 ถึง 32 โวลต์ดีซี

– ใช้กระแสไฟสูงสุด 6.5 มิลลิแอมป์ (LED on)

– ค่าเฉลี่ยของกระแสไฟในการทำงาน 350 ?A กับ 375 ?A และ 485 ?A

– การสูญเสียในสายวงจร (NAC) สูงสุด 4 โวลต์ดีซี

– รองรับแรงดันไฟฟ้าจากตู้จ่ายไฟเลี้ยงภายนอก แบบ 24 โวลต์ดีซี

– ช่วงอุณหภูมิในการทำงาน 0 ถึง 49 องศาเซลเซียส (0?C to 49?C)

– ช่วงความชื้นในการทำงาน 10 ถึง 93 เปอร์เซ็นต์ (10% to 93% noncondensing)

– ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุปกรณ์แจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย UL , ULC , FM ,CSFM ,MEA

 

ดาวน์โหลด Data Sheet อุปกรณ์ FCM-1 »

 

 

 

Relay Module Model. FRM-1

 

– รีเลย์โมดูล

– เป็นโมดูลระบุตำแหน่ง แบบ 2 N.O. กับ 2 N.C.

– แบบที่ต้องมีไฟเลี้ยงแต่ไม่ต้องรีเซ็ต (Power Non-Resetable)

– ใช้ระบบชนิด Flashscan ใหม่ที่มีคุณสมบัติ (โปรโตคอล) ในการติดต่อสี่อสารที่รวดเร็วกว่า
  ชนิดระบบ Clip Mode เดิม

– มี Rotary, decimal addressing เพื่อกำหนดที่อยู่ของอุปกรณ์ ในระบบ FlashScan ได้

  1 – 159 ตำแหน่ง ในระบบ CLIP ได้ 1 – 99

– สำหรับเชื่อมต่อควบคุมสั่งงานอุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ

– มีดวงไฟ LED แสดงผลการทำงาน โดยจะหระพริบทุก 5 วินาที

– ใช้แรงดันไฟฟ้าปกติในการทำงาน 15 ถึง 32 โวลต์ดีซี

– ใช้กระแสไฟสูงสุด 6.5 มิลลิแอมป์ (LED on)

– ค่าเฉลี่ยของกระแสไฟในการทำงาน 230 ?A กับ 255 ?A

– ช่วงอุณหภูมิในการทำงาน 0 ถึง 49 องศาเซลเซียส (0?C to 49?C)

– ช่วงความชื้นในการทำงาน 10 ถึง 93 เปอร์เซ็นต์ (10% to 93% noncondensing)

– ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุปกรณ์แจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย UL , ULC , FM ,CSFM ,MEA

 

ดาวน์โหลด Data Sheet อุปกรณ์ FRM-1 »

 

 

 

Fault Isolator Module Model. ISO-X

 

– ไอโซเรเตอร์โมดูล

– เป็นโมดูล แบบป้องกันการลัดวงจรในสายนำสัญญาณลูป (SLC)

– สามารถใช้ป้องกันได้ทั้งตู้ควบคุมระบบแบบชนิด Flashscan ใหม่ และชนิด Clip Mode เดิม

– มีดวงไฟ LED แสดงผลการทำงาน โดยจะหระพริบทุก 5 วินาที

– สามารถเปิดสัญญาณลูปอัตโนมัติในการป้องกันการช๊อตเพื่อไม่ให้เสียหายทั้งระบบ

– สามารถรีเซีตโดยอัตโนมัติเมื่อทำการแก้ไขการซ๊อต

– ใช้แรงดันไฟฟ้าปกติในการทำงาน 15 ถึง 32 โวลต์ดีซี

– กระแสไฟสำรอง 450 ?A

– ใช้กระแสไฟสูงสุด 17 มิลลิแอมป์ (mA.)

– ช่วงอุณหภูมิในการทำงาน 0 ถึง 49 องศาเซลเซียส (0?C to 49?C)

– ช่วงความชื้นในการทำงาน 10 ถึง 93 เปอร์เซ็นต์ (10% to 93% noncondensing)

– ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุปกรณ์แจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย UL , ULC , FM ,CSFM ,MEA

 

ดาวน์โหลด Data Sheet อุปกรณ์ ISO-X »

 

 

 

Lamp Driver Modules Model. LDM-32

 

– แลมป์ไดร์เวอร์โมดูล

– เป็นโมดูลควบคุมการแจ้งเตือนและแสดงผลผ่านทางดวงไฟ LED

– ใช้ต่อเชื่อมกับดวงไฟ LED ภายในตู้แผนผังแสดงผล (Graphic Annunciator)

– สามารถใช้เชื่อมต่อได้ทั้งตู้ควบคุมระบบแบบชนิด Flashscan และ Clip Mode เดิม

– สามารถแจ้งเตือน กับ เปิดวงจร และ ดวงไฟแสดงเมื่อเกิดปัญหา กับดวงไฟ LED

  ต่อจุดเป็นอุปกรณ์เสริม หรือ ตัวเลือกการแจ้งเตือนทั่วไปเป็นอุปกรณ์เสริม

– มีอุปกรณ์เสริมสวิทซ์ควบคุม สำหรับการควบคุมระยะไกลต่อจุด

– สามารถโปรแกรมดวงไฟ LED ให้แสดงสถานะแบบเดียวกับตู้ควบคุมระบบ

– มีวงจรเชื่อมต่อ แลมป์ปัญหาระบบ กีบสัญญาณดวงไฟ LED

– มีอุปกรณ์แจ้งเสียงเตือน กับวงจรเปิด และเมื่อเกิดปัญหา กับมีวงจรเชื่อมต่อสวิทซ์

  หยุดเสียง กับสวิทซ์รับทราบเหตุแจ้งเตือน

– มีพ๊อต RS-485 เป็นส่วนติดต่อกับตู้ควบคุม

– ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุปกรณ์แจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย UL , ULC , FM ,CSFM ,MEA

 

ดาวน์โหลด Data Sheet อุปกรณ์ LDM-32 »

 

 

 

Expander Lamp Driver Modules Model. LDM-E32

 

– แลมป์ไดร์เวอร์โมดูลส่วนขยาย

– เป็นโมดูลส่วนชยายควบคุมการแจ้งเตือนและแสดงผลผ่านทางดวงไฟ LED

– ใช้ต่อเชื่อมกับดวงไฟ LED ภายในตู้แผนผังแสดงผล (Graphic Annunciator)

– สามารถใช้เชื่อมต่อได้ทั้งตู้ควบคุมระบบแบบชนิด Flashscan และ Clip Mode เดิม

– สามารถแจ้งเตือน กับ เปิดวงจร และ ดวงไฟแสดงเมื่อเกิดปัญหา กับดวงไฟ LED

  ต่อจุดเป็นอุปกรณ์เสริม หรือ ตัวเลือกการแจ้งเตือนทั่วไปเป็นอุปกรณ์เสริม

– มีพ๊อต RS-485 เป็นส่วนติดต่อกับตู้ควบคุม

– ได้ผ่านการรับรองมาตรฐานอุปกรณ์แจ้งเตือนเหตุอัคคีภัย UL , ULC , FM ,CSFM ,MEA

 

ดาวน์โหลด Data Sheet อุปกรณ์ LDM-E32 »

 

 

 

ระบบต่างๆที่เกี่ยวข้อง

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

Powered by WordPress | T-Mobile Phones for Sale at BestInCellPhones.com | Thanks to Free Phones at iCellPhoneDeals.com, Free MMORPG Games and Fat burning furnace review
Mr. Somboon Kangsanonkul