Mr. Somboon Kangsanonkul

การบำรุงรักษาและปรับปรุงระบบป้องกันอัคคีภัย

ถาม-ตอบปัญหาระบบป้องกันอัคคีภัย

 

หรือระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

 

 

1. ระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire Alarm) จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์ใดบ้าง

ตอบ.

1.1.ตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire Alarm Control Panel) กับชุดแหล่งจ่ายไฟ

(Power Supply) และ แบตเตอรี่สำรองไฟ (Battery Back-up)

1.2.อุปกรณ์กำเนิดสัญญาณเหตุเพลิงไหม้ (Signal Initiating Devices) เช่น Smoke Detector

,Heat Detector ,Manual Station ,Beam Detector ,Flame Detector ,GAS Detector

and Keyswitch

1.3.อุปกรณ์ส่งสัญญาณเตือนเหตุเพลิงไหม้ (Audible Alarm Devices) เช่น Bell ,Horn ,Strobe

,Horn & Strobe and Speaker

1.4.อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ (Other Devices) เช่น
– ตู้แสดงผลและควบคุมระบบระยะไกล (Remote Annunciator)
– ตู้แผนผังแสดงตำแหน่งเกิดเหตุเพลิงไหม้ (Graphic Annunciator)
– ระบบเสียงประกาศเตือนการอพยพ EVAC (Evacuation System)
– ระบบโทรศัพท์ติดต่อแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Firefighter’s Master Telephone)

 

2. ตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire Alarm Control Panel) มีกี่ประเภท

ตอบ.

จะมีอยู่ 2 ประเภทครับ คือ

2.1. ตู้ควบคุมระบบ แบบ Hard-Wire (Conventional)

2.2. ตู้ควบคุมระบบ แบบ Multiplex (Addressable)

 

3. ตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย (FCP) แบบ Hard-Wire กับแบบ Muitiplex ต่างกันอย่างไร

ตอบ.

3.1. จะต่างกันที่ราคา แบบ Hard-Wire จะมีราคาที่ถูกกว่าแบบ Muitiplex มาก

 

3.2. จะต่างกันที่ฟังก์ชั่นของระบบการทำงาน และระบบการควบคุม ฯลฯ

 

3.3. จะต่างกันตรงการเชื่อมต่อโซน กับการเพิ่มขยายโซนต่างๆ ในระบบ

 

3.4. ตู้ควบคุมระบบ แบบ Hard-Wire จะต่อโซนอุปกรณ์ตรวจจับ กับต่อโซนอุปกรณ์แจ้ง

สัญญาณเตือน บนบอร์ดแผงควบคุมภายในตู้ควบคุมเลย ส่วนจำนวนโซนขึ้นอยู่กับ

ตู้ควบคุมแต่ละรุ่น ซึ่งตู้ควบคุมระบบ แบบ Hard-Wire นี้จะมีทั้งแบบ 2 โซนอุปกรณ์

ตรวจจับ หรือ แบบ 4 โซนอุปกรณ์ตรวจจับ หรือ แบบ 5 โซนอุปกรณ์ตรวจจับ หรือ

แบบ 6 โซนอุปกรณ์ตรวจจับ และ แบบ 10 โซนอุปกรณ์ตรวจจับ (Conventional)

เฉพาะแบรนด์อเมริกา หรือแคนนาดา ที่ได้รับมาตรฐาน UL , FM , ULC

 

3.5. ตู้ควบคุมระบบแบบ Muitiplex ต้องใช้อุปกรณ์โมดูล (Addressable Module) ในการ

ต่อโซนกับขยายโซนอุปกรณ์ตรวจจับ และโซนอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน ฯลฯ

 

3.6. การเดินสายนำสัญญาณของระบบอุปกรณ์จะต่างกัน แบบ Hard-Wire จะเดินสายทุก

โซนของอุปกรณ์ตรวจจับ กับอุปกรณ์แจ้งเตือน มารวมไว้ที่ตู้ควบคุมระบบ แต่ในแบบ

Multiplex จะเดินสายรับ-ส่งข้อมูลจากตู้ควบคุมระบบ เพียง 2 สายไปหาที่โมดูลระบุ

ตำแหน่ง (Modules) แต่ละจุดที่กำหนดไว้ และเดินสายโซนของอุปกรณ์ตรวจจับ กับ

โซนอุปกรณ์แจ้งเตือน จากที่โมดูลระบุตำแหน่ง (Modules) แต่ละชนิด แต่ละจุด ที่มี

กำหนดไว้ในการออกแบบวางระบบ

 

3.7. การแสดงตำแหน่งตรวจจับจะต่างกันแบบ Hard-Wire จะแสดงเป็นกลุ่ม (Group Zone)

และ แบบ Multiplex จะแสดงเป็น จุด (Point) หรือ ระบุตำแหน่ง (Addressable)

 

3.8. ตู้ควบคุมระบบ แบบ Hard-Wire (Conventional) มาตรฐาน UL , FM , ULC จะเหมาะ

สำหรับสถานที่ขนาดเล็ก ที่มีการออกแบบแบ่งโซน (พื้นที่ตรวจจับ) ไว้ไม่เกิน 10 โซน

อุปกรณ์ตรวจจับ แบบธรรมดา (Conventional)

 

3.9. ตู้ควบคุมระบบ แบบ Muitiplex (Addressable) จะเหมาะสำหรับสถานที่ขนาดใหญ่ ที่มี

การออกแบบแบ่งโซน (พื้นที่ตรวจจับ) ไว้ตั้งแต่ 11 โซนจนถึง 1000 กว่าโซน อุปกรณ์

ตรวจจับแบบธรรมดา (Conventional) และตู้ควบคุมระบบ แบบนี้ยังสามารถให้ระบบไป

ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ภายนอกอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ไปควบคุมลิฟท์ (Lift) หรือควบคุมแอร์

(AHU) หรือควบคุมระบบพัดลม (Fan Control) ต่างๆ หรือ ควบคุมระบบฉีดน้ำดับเพลิง

อัตโนมัติ (Automatic Water Sprinkler System) หรือระบบควบคุมการเข้า-ออกประตู

(Access Control System) และระบบอื่นๆ

 

4. ตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย (FCP) แบบ Hard-Wire กับ Multiplex มีข้อดี – ข้อเสียต่างกันอย่างไร

ตอบ.

4.1. ตู้ควบคุมแบบ Hard-Wire จะมีราคาถูกกว่า แบบ Multiplex จากจำนวนโซนที่เท่าๆกัน

4.2. ตู้ควบคุมแบบ Hard-Wire จะเสียค่าติดตั้งถูกกว่า แบบ Multiplex ในจำนวนโซนที่เท่ากัน

4.3. ตู้ควบคุมแบบ Hard-Wire จะดูแลรักษาระบบง่ายกว่าแบบ Multiplex ในจำนวนโซนที่เท่ากัน

4.4. ตู้ควบคุมแบบ Multiplex จะเพิ่มโซน หรือปรับปรุงระบบได้ง่าย และดีกว่า แบบ Hard-Wire

4.5. ตู้ควบคุมแบบ Multiplex จะรองรับการติดตั้งในสถานที่ขนาดใหญ่ได้ดีกว่า แบบ Hard-Wire

4.6. ตู้ควบคุมแบบ Multiplex จะมีฟักงชั่นการทำงาน และการควบคุมระบบดีกว่า แบบ Hard-Wire

4.7. ตู้ควบคุมแบบ Multiplex จะต่อทำงานร่วมกับอุปกรณ์ภายนอกได้มากกว่า แบบ Hard-Wire

4.8. ตู้ควบคุมแบบ Multiplex จะรองรับระบบเครือข่ายได้ แต่แบบ Hard-Wire ทำไม่ได้

 

5. ระบบป้องกันอัคคีภัย ในการเดินสายนำสัญญาณระบบแบบ Class A กับ Class B แตกต่างกันอย่างไร

ตอบ.

5.1. การเดินสายระบบแบบ Class A จะใช้ 4 สาย หรือเดินไป แล้ววนกลับ

5.2. การเดินสายระบบแบบ Class A จะใช้ท่อร้อยสาย ในการติดตั้งมากกว่าแบบ Class B

5.3. การเดินสายนำสัญญาณระบบแบบ Class A จะมีค่าติดตั้งระบบแพงกว่าแบบ Class B

5.4. การเดินสายระบบแบบ Class A ถ้ามีสายบางส่วนขาดระบบก็ยังคงทำงานได้ หรืออุปกรณ์

ตัวใดเสีย ระบบหรืออุปกรณ์ตรวจจับตัวอื่นๆ ที่ไม่เสียก็ยังคงตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ได้ตามปกติ

5.5. การเดินสายระบบแบบ Class B จะใช้ 2 สาย (ส่วนใหญ่จะนิยมเดินแบบ Class B)

5.6. การเดินสายระบบแบบ Class B หากมีสายบางส่วนขาดระบบจะทำงานได้เฉพาะช่วงที่ยัง

เชื่อมต่อกับตู้ควบคุมระบบเท่านั้น หรืออุปกรณ์ตรวจจับตัวใดเสียอุปกรณ์ตัวอื่นๆที่ต่อจาก

อุปกรณ์ตัวที่เสียก็จะไม่ตรวจจับเหตุเพลิงไหม้ ส่วนอุปกรณ์ที่อยู่ก่อนตัวที่เสียยังคงตรวจจับ

เหตุเพลิงไหม้ได้ตามปกติ

 

6. ระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire Alarm) แบบ Multiplex ใช้หลักการทำงานและรับ-ส่งสัญญาณแบบใด

ตอบ.

จะใช้การสื่อสารสัญญาณแบบลูป (Loop) โดยใช้สายนำสัญญาณอยู่ 2 เส้น (Two Wire) วางระบบ

แบบ Class A. เพื่อจะให้ตู้ควบคุมระบบ (FCP) ส่งสัญญาณโปรโตคอล (Protocol) ที่มีการเชื่อม

โยง เครือข่ายที่มีฮาร์ดแวร์ต่างกันจำเป็นต้องกำหนดข้อตกลงร่วมกันเป็นลักษณะของตัวเองออก

ไปพร้อมระบุตำแหน่ง (Addressable) ให้ปลายทางรับข้อมูลที่ส่งไป เมื่อส่งสัญญาณไปยังปลาย

ทางอุปกรณ์ที่ถูกระบุตำแหน่ง เช่น Module ชนิดต่างๆ หรือ Addressable Smoke Detector หรือ

Addressable Heat หรือ Addressable Manual Call Point หรือ Addressable Horn ก็จะแจ้งสถานะ

ตัวเองกลับไปที่ตู้ควบคุมระบบ (FCP) สายที่ใช้เชื่อมระบบนี้จะมีสัญญาณอยู่ตลอดเวลา จึงต้องใช้

สายทนไฟ Fire Resistant Cable (FRC) มีขนาดไม่เล็กกว่า 1.5 หรือ 2.5 mm2 หรือ Twisted Pair

Shield ขนาด 18 AWG ถึง 12 AWG (ขึ้นอยู่กับระยะทางการเดินระบบว่าใกล้หรือไกล) เพื่อป้องกัน

สัญญาณรบกวนจากภายนอก และ ระยะในการติดต่อสื่อสารกับตู้ควบคุมระบบสายชุดต่อมาจะเป็น

สายไฟเลี้ยงอุปกรณ์ประเภทที่ต้องอาศัยการรีเซ็ตจากการหยุดจ่ายไฟชั่วขณะ (Power Resetable)

เช่น Smoke หรือ Beam Smoke เป็นสายทนไฟ FRC หรือTHW ก็ได้ ขนาดของสายก็แล้วแต่ระยะ

ทางที่เดินสายในระบบ หรือ แล้วแต่สเปกที่ผู้ออกแบบระบบกำหนดไว้ สายชุดถัดมาเป็น สายไฟ

เลี้ยงอุปกรณ์สัญญาณแจ้งเหตุ เช่น กระดิ่ง (Bell) หรือ ฮอร์น (Horn) หรือแสงไฟกระพริบ (Strobe)

ต่างๆ (Power Non-Resetable) ใช้สายทนไฟ FRC หรือ THW ก็ได้ ส่วนขนาดของสายก็แล้วแต่

ระยะทางที่เดินสายในระบบ หรือแล้วแต่สเปกที่ผู้ออกแบบระบบได้กำหนดไว้ สายชุดสุดท้ายเป็น

สายนำสัญญาณ RS-485 หรือ RS-232 สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องปริ้นเตอร์

หรือ ตู้ควบคุมและแสดงผลระยะไกล (Remote Annunciator) หรือ ตู้แผนผังแสดงตำแหน่งจุดเกิด

เหตุเพลิงไหม้ (Graphic Annynciator) แล้วแต่สเปกที่ผู้ออกแบบระบบได้กำหนดไว้

 

7. หลักการทำงานของ Module แต่ละชนิดในระบบป้องกันอัคคีภัยแบบ Multiplex มีกี่ชนิด

ตอบ.

หลักๆจะมีอยู่ 7 ชนิด คือ

7.1. Monitor Module จะเป็นโมดูลระบบตำแหน่ง แบบอินพุท ที่ต้องมีไฟเลี้ยง (Power Resetable) ให้อุปกรณ์ประเภทที่ต้องอาศัยการรีเซ็ตจากการหยุดจ่ายไฟชั่วขณะ ซึ่งเป็นชนิด Detector Zone ใช้รับสัญญาณการแจ้งเตือนจากอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆ แบบ Conventional Devices เช่นอุปกรณ์ Smoke Detector หรือ Heat Detector หรือ Projected Beam Smoke Detector หรือ UV Flame Detector หรือ GAS Detector และ Manual Station แล้วส่งสัญญาณไปแจ้งตำแหน่งตรวจจับที่ FCP ต่อระบบสายอุปกรณ์ได้ทั้งแบบ Class A. และ Class B.

 

7.2. Single Input Module จะเป็นโมดูลระบบตำแหน่ง แบบอินพุท ที่ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงจึงไม่ต่อสายไฟเลี้ยงที่โมดูล ใช้กับตัวอุปกรณ์ที่ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงต่างๆ เช่น Mannual Station หรือ Mechanical Heat Detector หรือ Keyswitch หรือพวกอุปกรณ์ Monitoring อื่นๆ Flow Switch และ Supervisory Switch แบบธรรมดา (Conventional) Hard-Wire ต่อได้ทั้ง Class A. และ Class B.

 

7.3. Control Module จะเป็นโมดูลระบุตำแหน่ง แบบเอาท์พุท ที่ต้องต่อไฟเลี้ยง (Power Non-Resetable) เพื่อจ่ายกระแสไฟให้อุปกรณ์แจ้งเตือนสัญญาณ ซึ่งเป็นชนิด Supervised Zone จะใช้รับสัญญาณการแจ้งเตือนจาก FCP แล้วส่งต่อสัญญาณไปสั่งการให้อุปกรณ์ Alarm Devices ต่างๆ แจ้งสัญญาณเตือนตามที่กำหนดไว้ เมื่อมีเหตุเพลิงไหม้ เช่น กระดิ่ง (Bell) หรือ ฮอร์น (Horn) หรือแสงไฟแฟลชกระพริบ (Strobe) ต่างๆ แบบธรรมดา (Conventional) ต่อระบบสายอุปกรณ์ได้ทั้งแบบ Class A. และ Class B.

 

7.4. Relay Module จะเป็นโมดูลระบบตำแหน่ง แบบรีเลย์เอาท์พุท (Dry Contact NO / NC) ที่ต้องมีไฟเลี้ยง (Power Non-Resetable) ไปสั่งงานควบคุมอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก โดยส่งสัญญาณไปให้แผงควบคุมของอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้

 

? แผงควบคุมลิฟต์ (Lift) ทุกชุด เพื่อให้ระบบควบคุม สั่งให้ลิฟต์ทุกชุดเข้าสู่สภาวะการทำงานฉุกเฉินเนื่องจากเกิดเหตุเพลิงไหม้

 

? แผงควบคุมของ Air Handling Unit ทุกชุด เพื่อให้ AHU กับอุปกรณ์ประกอบหยุดทำงานเป็นโซนๆ หรือหยุดทำงานทั้งหมด

 

? แผงควบคุมของ พัดลมอัดอากาศ (Pressurized Fan) และพัดลมระบายควัน (Smoke Exhaust Fan) และอุปกรณ์ลิ้นกันควัน (Smoke Damper) และอุปกรณ์ประกอบทุกชุด เพื่อให้พัดลมทำงานตามฟังก์ชั่น

 

? แผงควบคุมของระบบ Access Control เพื่อให้ระบบควบคุม สั่งให้ประตูที่ควบคุมในระบบคลายล็อค เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้

 

7.5. Input Interface Module จะเป็นโมดูลระบบตำแหน่ง แบบรับสัญญาณอินพุท ที่เชื่อมต่อรับการสั่งงานหรือการเช็คสถานะต่างๆของอุปกรณ์ภายนอก เช่น Fire Pump , FM 200 , UPS , Emergency Light

 

7.6. Output Interface Module จะเป็นโมดูลระบบตำแหน่ง แบบเอาท์พุท สำหรับใช้ต่อกับอุปกรณ์ภายนอกในการแสดงสถานะหรือทำงานรวมกันในระบบ

 

7.7. Isolator Module จะเป็นโมดูลระบุตำแหน่ง แบบป้องกันการลัดวงจร เพื่อใช้ป้องกันการลัดวงจรภายในลูปที่เชื่อมต่ออุปกรณ์ทั้งหมดให้ทำงานร่วมกัน ใช้สำหรับป้องกันการลัดวงจรของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อในลูปเดียวกัน จากอุปกรณ์ตรงบริเวณที่เกิดการลัดวงจร โดยระบบและอุปกรณ์อื่นๆ ในลูปเดียวกัน ก็ยังคงทำงานได้ตามปกติ (Short Circuit Isolator)

 

8. อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) มีกี่ชนิด อะไรบ้าง

ตอบ :

จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ

8.1. อุปกรณ์ตรวจจับควัน ชนิดตรวจจับด้วยลำแสง (Photoelectric Smoke Detector)

8.2. อุปกรณ์ตรวจจับควันกับความร้อน (Photoelectric Smoke / Heat Detector) ที่ได้

รวมข้อดีในการตรวจจับ 2 แบบ ไว้ภายในตัวเดียวกัน ตือ ชนิดตรวจจับด้วยลำแสง

(Photoelectric) กับขนิดตรวจจับความร้อนในอุณหภูมิคงที่ (Fixed Temperature)

มีความไวในการตรวจจับได้เร็วกว่า อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Photoelectric Smoke)

8.3. อุปกรณ์ตรวจจับควัน ชนิดไอโอไนซ์เซชั่น (Ionization Smoke Detector) ที่ต้อง

ใช้สารกัมมันตภาพรังสี (Americium 241) เป็นตัวกำเนิดพลังงาน (Energy Source)

ในการทำ Ionization ตอนตรวจจับควัน ทำให้ต้องทำการขออนุญาตนำเข้าตามกฎ

ระเบียบของทางราชการก่อน ซึ่งทำให้เพิ่มต้นทุนในการขายจึงมีราคาสูง แต่จะมีคุณ

สมบัติในการตรวจจับควันได้ไวกว่า แบบ Photoelectric Smoke แต่อุปกรณ์ตรวจจับ

แบบ Photoelectric Smoke & Heat จะมีความไวในการตรวจจับที่เทียบเท่ากับ แบบ

แบบ Ionization และมีต้นทุนในการขายต่ำกว่า และไม่มีสารกัมมันตภาพรังสี ที่อาจ

ทำอันตรายกับผู้ใช้ได้

 

9. อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) มีกี่แบบ อะไรบ้าง

ตอบ :

จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

9.1. อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) แบบธรรมดา (Conventional)

9.2. อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) แบบระบุตำแหน่ง (Addressable)

 

10. อุปกรณ์ตรวจจับควันกับความร้อนในตัวเดียวกัน ดีกว่าอุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดเดียวอย่างไร

ตอบ :

อุปกรณ์ตรวจจับควันและความร้อน (Photoelectric Smoke & Heat Detector) ที่รวมอยู่ภายในตัว

เดียวกัน มีความไวในการตรวจจับเร็วกว่า ตัวอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Photoelectric Smoke

Detector) ซึ่งอุปกรณ์ตรวจจับควัน กับตรวจจับความร้อน (Photoelectric Smoke & Heat

Detector) ได้ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ทดแทน อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบ ไอโอไนซ์เซชั่น (Ionization

Smoke Detector) ที่มีคุณสมบัติในการตรวจจับควันได้ไวกว่า ตัวอุปกรณ์ แบบ Photoelectric

Smoke แต่อุปกรณ์แบบ Ionization จะใช้สารกัมมันตภาพรังสี (Americium 241) เป็นตัวกำเนิด

พลังงาน (Energy Source) ในการ Ionization ทำให้ต้องทำการขออนุญาตนำเข้าตามกฎระเบียบ

ของทางราชการก่อน ซึ่งทำให้เพิ่มต้นทุนการขายจึงมีราคาสูง ต่างจากอุปกรณ์ แบบ

Photoelectric Smoke กับ Photoelectric Smoke & Heat ที่มีต้นทุนในการขายต่ำกว่า และไม่มี

สารกัมมันตภาพรังสี ที่อาจทำอันตรายกับผู้ใช้ได้

 

11. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) มีกี่ชนิด อะไรบ้าง

ตอบ :

จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

11.1. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ชนิดอิเล็คโทรนิคส์ (Electronic)

11.2. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ชนิดเม็กคานิคส์คอล (Mechanical)

 

12. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) มีกี่แบบ อะไรบ้าง

ตอบ :

จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

12.1. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) แบบธรรมดา (Conventional)

12.2. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) แบบระบุตำแหน่ง (Addressable)

 

13. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ตอบ :

จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ

13.1. ประเภทตรวจจับความร้อนเมื่ออุณหภูมิคงที่เพิ่มขึ้น (Fixed Temperature)

13.2. ประเภทตรวจจับความร้อนเมื่อมีอัตราการเพิ่มอุณหภูมิ (Rate-of-Rise)

13.3. ประเภทตรวจจับความร้อนเมื่ออุณหภูมิคงที่เพิ่มขึ้น กับเมื่อมีอัตราการเพิ่มอุณหภูมิ

(Fixed Temperature / Rate-of-Rise) รวมอยู่ในตัวอุปกรณ์เดียวกัน

 

14. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) แบบ Electronic ดีกว่าแบบ Mechanical อย่างไร?

ตอบ :

อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน แบบ Electronic เมื่อตรวจจับไปแล้วสามารถทำการคืนค่าได้เอง กับยัง

คงตรวจจับใหม่ได้ และสามารถจะทดสอบการทำงานได้ ต่างจากอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน แบบ

Mechanical ซึ่งเมื่อตรวจจับไปแล้วจะไม่สามารถทำการตรวจจับครั้งต่อๆไปได้อีก จะต้องเปลี่ยน

ตัวอุปกรณ์ใหม่ และ ไม่สามารถจะทดสอบการทำงาน กับตรวจเช็คว่าอุปกรณ์ยังทำงานได้หรือไม่

ถ้ายังไปทดสอบการทำงานในครั้งแรก หรือครั้งที่สอง ก็อาจจะทดสอบได้ แต่จะไม่สามารถตรวจ

จับได้ตามมาตรฐานอุปกรณ์เดิม กับถ้าทดสอบครั้งที่สามก็จะเสียไปเลย

 

15. ผมซื้ออุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat) ราคาตัวละ 250 บาท เป็นแบบอะไรครับ

ตอบ.

ราคา 250 บาทต่อตัว เป็นแบบ Mechanical แน่นอนครับ เพราะถ้าเป็นแบบ Electronic คงจะ

ซื้อในราคาตัวละ 250 บาท ไม่ได้แน่นอนครับ

 

16. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) มีกี่แบบ อะไรบ้าง

ตอบ :

จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

16.1. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) แบบธรรมดา (Conventional)

16.2. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) แบบระบุตำแหน่ง (Addressable)

 

17. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) มีกี่ชนิด อะไรบ้าง

ตอบ :

หลักๆจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ

17.1. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ แบบดึงคันโยกลง (Manual Pull Station)

17.2. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ แบบทุบกระจกแตกแล้วกดปุ่ม (Manual Call Point)

 

18. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน (Audible Alarm Devices) มีกี่แบบ อะไรบ้าง

ตอบ :

จะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

18.1. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน แบบธรรมดา (Conventional)

18.2. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน แบบระบุตำแหน่ง (Addressable)

 

19. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน (Audible Alarm Devices) มีกี่ชนิด อะไรบ้าง

ตอบ :

จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิด คือ

19.1. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน ด้วยเสียงกระดิ่ง (Bell)

19.2. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน ด้วยเสียงทั่วไป (Horn)

19.3. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน ด้วยเสียงดังยาว (Sounder)

19.4. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน ด้วยแสงไฟกระพริบ (Strobe)

 

20. การบำรุงรักษาระบบป้องกันอัคคีภัย (Maintenance Fire Alarm System) ทำเพื่ออะไร

ตอบ.

เพื่อให้อุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัย สามารถจะตรวจจับและแจ้งเตือนได้ตลอดเวลา

เพราะหากไม่มีการดูแล และบำรุงรักษาระบบให้พร้อมทำงาน หากเกิดเหตุเพลิงไหม้

ขึ้นเมื่อใด แล้วระบบอุปกรณ์เกิดไม่ทำงานหรือไม่มีการแจ้งเตือน สิ่งที่ท่านได้ลงทุน

ติดตั้งระบบไว้ก็ไม่มีประโยชน์ และที่สำคัญคือการสูญเสียทั้งชีวิต กับทรัพย์สิน ที่ไม่

อาจจะหลีกเลี่ยงได้จากการเกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งอุปกรณ์อิเล็คโทรนิคส์ต่างๆ ไม่ว่า

ชนิดใด แบบใด หากได้ใช้งานระบบอุปกรณ์ไประยะหนึ่งแล้วทิ้งไว้นานๆ อาจจะมีฝุ่น

ไปเกาะ หรือมีแมลงต่างๆเข้าไปทำรังอยู่ในอุปกรณ์ ซึ่งอาจจะไปทำให้ระบบอุปกรณ์

ทำงานผิดพลาด หรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือเสียได้ โดยถ้าไม่คอยหมั่น

ดูแลรักษาระบบอุปกรณ์อย่างต่อเนื่อง หรือไม่ทำการบำรุงรักษาระบบให้ดี ถ้าเกิดเหตุ

เพลิงไหม้ขึ้นจริงระบบอุปกรณ์ไม่ทำงาน สิ่งที่ท่านไม่สนใจ หรือประหยัดงบประมาณ

ไปนั้นก็อาจจะเป็นผลเสียที่หาค่าไม่ได้ ดังนั้นการบำรุงรักษาระบบจึงจำเป็นมากที่สุด

ในการใช้งานระบบป้องกันอัคคีภัย หรือระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm System)

 

21. การบำรุงรักษาระบบป้องกันอัคคีภัย (Maintenance Fire Alarm System) มีวิธีทำอย่างไร

ตอบ.

21.1.ตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire Alarm Control Panel)

– จะทำการตรวจเช็คสภาพ (Checking) ของ ตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย
– จะทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ ตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย
– จะทดสอบการทำงาน (Testing) ของ ตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย

การตรวจเช็คสภาพ (Checking) ของ ตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย

– เช็คสภาพโดยรวมทั้งภายนอกตู้ และภายในตู้ (Housing)
– เช็คสายที่เชื่อมต่อ (Wiring) อยู่ภายในตู้
– เช็คสภาพบอร์ดควบคุม (Control Board) และการ์ดส่วนติดต่อ (Interface Card) ต่างๆ
– เช็คขั้วต่อ (Terminal Strip) บอร์ดควบคุม (Control Board) และการ์ด (Card) ต่างๆ
– เช็คหม้อแปลงจ่ายไฟ (Transformer Power Supply) ภายในตู้
– ใช้อุปกรณ์เช็คไฟ ทำการวัดแรงดันไฟเมน (Transformer) และแรงดันไฟจากแบตเตอรี่
– เช็คสภาพโดยรวมของแบตเตอร์รี่ (Battery) และตรวจขั้วแบตเตอรี่ ว่าเป็นสนิทหรือไม่
– เช็คสภาพหน้าจอแสดงผล (LCD Display) กับแป้นควบคุม และสวิทซ์ปุ่มกด (Keypad) ต่างๆ
– เช็คหลอดดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) การแจ้งเตือนต่างๆ
– เช็คดูฟังก์ชั่น (Function) การควบคุม (Controller) และ การสั่งงาน (Relay) ต่างๆ

การทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ ตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย

– จะเช็ดปัดฝุ่นกับทำความสะอาดทั้ง ภายในตู้ และ ภายนอกตู้
– จะเช็คปัดฝุ่นกับทำความสะอาดหน้าจอแสดงผล (LCD Display) กับแป้นควบคุม (Keypad)
– จะเช็ดปัดฝุ่นกับทำความสะอาดบอร์ดควบคุม (Control Board) และการ์ด (Card) ต่างๆ
– จะขันน็อตตรง Terminal Strip เข้าสายเชื่อมต่อให้แน่น
– จะเช็ดและจัดเรียงสายไฟภายในตู้ให้ดี

การทดสอบการทำงาน (Testing) ของ ตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย

– จะทดสอบการทำงานของหน้าจอแสดงผล (LCD Display) กับแป้นควบคุม (Keypad)
– จะทดสอบการทำงานของดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) การแจ้งเตือนต่างๆ
– จะทดสอบระบบการตรวจสอบด้วยตัวเอง (Supervisory)
– จะทดสอบการแจ้งข้อผิดพลาดของระบบ (Trouble)
– จะทดสอบการเรียกดูเหตุการณ์ที่ผ่านมาในระบบ (History Events)
– จะทดสอบการจ่ายไฟของแบตเตอร์รี่ และการชาร์จไฟ (Recharge Battery) อัดเข้าไปใหม่
– จะทดสอบระบบการรับสัญญาณแจ้งเตือนจากอุปกรณ์จับสัญญาณ (Signal Initiating Devices)
– จะทดสอบระบบการส่งสัญญาณไปสั่งงานอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน (Audible Alarm Devices)
– จะทดสอบกดสวิทซ์ปุ่มกดหยุดเสียงแจ้งเตือน (Acknowledge) ที่ตู้ควบคุม
– จะทดสอบกดสวิทซ์ปุ่มกดการคืนค่าระบบ (Reset) ที่ตู้ควบคุม

 

21.2. อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ทุกแบบ ทุกชนิด

– จะทำการตรวจเช็คสภาพ (Checking) ของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน
– จะทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ อุปกรณ์ตรวจจับควัน
– จะทดสอบการทำงาน (Testing) ของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน

การตรวจเช็คสภาพ (Checking) ของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน ทุกแบบ ทุกชนิด

– เช็คสภาพโดยรวมทั้งส่วนหัว (Head) และฐานรอง (Base) ของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน
– เช็คสายที่เชื่อมต่อ (Wiring) ตรงขั้วต่อ (Terminal Strip) บนฐานรอง (Base)
– เช็คหลอดดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ที่ตรงส่วนหัว (Head)

การทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ อุปกรณ์ตรวจจับควัน ทุกแบบ ทุกชนิด

– จะเป่าฝุ่นทั้งส่วนหัว (Head) และฐานรอง (Base) ของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน
– จะเช็คทำความสะอาดทั้งส่วนหัว (Head) และฐานรอง (Base) ของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน
– จะขันน็อตตรง Terminal Strip เข้าสายเชื่อมต่อให้แน่น

การทดสอบการทำงาน (Testing) ของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน ทุกแบบ ทุกชนิด

– จะทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับควัน ด้วยสเปย์ควันเทียม (Smoke Tester)
– จะทดสอบการทำงานของดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ในการแจ้งเตือน
– จะดูการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทดสอบด้วยสเปย์ควันเทียม
– จะดูการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทำให้เกิดข้อผิดพลาดของระบบ (Trouble)

 

21.3. อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ทุกแบบ ทุกชนิด

– จะทำการตรวจเช็คสภาพ (Checking) ของ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
– จะทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
– จะทดสอบการทำงาน (Testing) ของ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน

การตรวจเช็คสภาพ (Checking) ของ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ทุกแบบ ทุกชนิด

– เช็คสภาพโดยรวมทั้งส่วนหัว (Head) และฐานรอง (Base) ของ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
– เช็คสายที่เชื่อมต่อ (Wiring) ตรงขั้วต่อ (Terminal Strip) บนฐานรอง (Base)
– เช็คหลอดดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ที่ตรงส่วนหัว (Head)

การทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ทุกแบบ ทุกชนิด

– จะเป่าฝุ่นทั้งส่วนหัว (Head) และฐานรอง (Base) ของ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
– จะเช็คทำความสะอาดทั้งส่วนหัว (Head) และฐาน (Base) ของ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน
– จะขันน็อตตรง Terminal Strip เข้าสายเชื่อมต่อให้แน่น

การทดสอบการทำงาน (Testing) ของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน ทุกแบบ ทุกชนิด

– จะทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน ด้วยเครื่องเป่าลมร้อน (Heat Tester)
– จะทดสอบการทำงานของดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ในการแจ้งเตือน
– จะดูการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทดสอบด้วยเครื่องเป่าลมร้อน
– จะดูการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทำให้เกิดข้อผิดพลาดของระบบ (Trouble)

 

21.4. อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) ทุกแบบ ทุกชนิด

– จะทำการตรวจเช็คสภาพ (Checking) ของ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้
– จะทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้
– จะทดสอบการทำงาน (Testing) ของ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้

การตรวจเช็คสภาพ (Checking) ของ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ ทุกแบบ ทุกชนิด

– เช็คสภาพโดยรวมของ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ เช่น กระจก หรือ คันโยก หรือปุ่มกด
– เช็คสายที่เชื่อมต่อ (Wiring) ตรงขั้วต่อ (Terminal Strip) ที่ด้านหลังตัวอุปกรณ์
– เช็คหลอดดวงไฟแสดงสถานะ (LED Status) ถ้ามีบนอุปกรณ์

การทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ ทุกแบบ ทุกชนิด

– จะเป่าฝุ่นทั้งด้านหน้า และด้านใน ของ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้
– จะเช็คทำความสะอาดทั้งด้านหน้า และด้านใน ของ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้
– จะขันน็อตตรง Terminal Strip ที่ด้านหลังอุปกรณ์ โดยเข้าสายเชื่อมต่อให้แน่น

การทดสอบการทำงาน (Testing) ของ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ ทุกแบบ ทุกชนิด

– จะทดสอบการทำงานของอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ ด้วยกุญแจไขทดสอบ หรือดึงคันโยกลง
– จะทดสอบการคืนค่า (Reset) ของอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ ด้วยกุญแจไขกลับคืนค่า
– จะดูการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทดสอบด้วยกุญแจไข หรือดึงคันโยกลง
– จะดูการส่งสัญญาณไปแจ้งที่ตู้ควบคุมระบบ เมื่อทำให้เกิดข้อผิดพลาดของระบบ (Trouble)

 

21.5. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน (Audible Alarm Devices) เช่น Bell หรือ Horn หรือ Strobe

– จะทำการตรวจเช็คสภาพ (Checking) ของ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน
– จะทำความสะอาด (Cleaning) สำหรับ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน
– จะทดสอบการทำงาน (Testing) ของ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน

การตรวจเช็คสภาพ (Checking) ของ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน ทุกแบบ ทุกชนิด

– เช็คสภาพโดยรวมของ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน เช่น Bell หรือ Horn หรือ Strobe
– เช็คสายที่เชื่อมต่อ (Wiring) ตรงขั้วต่อ (Terminal Strip) ที่ด้านหลังตัวอุปกรณ์
– เช็คความดังเสียงเตือนของอุปกรณ์ Bell หรือ Horn
– เช็คการกระพริบไฟแฟลชของอุปกรณ์ Strobe
– เช็คความดังเสียงเตือน กับการกระพริบไฟแฟลชของอุปกรณ์ Horn & Strobe

การทำความสะอาด (Cleaning) อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน เช่น Bell หรือ Horn หรือ Strobe

– จะเป่าฝุ่นของ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน
– จะเช็คทำความสะอาดของ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน
– จะขันน็อตตรง Terminal Strip ที่ด้านหลังอุปกรณ์ โดยเข้าสายเชื่อมต่อให้แน่น

การทดสอบการทำงาน (Testing) อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน เช่น Bell หรือ Horn หรือ Strobe

– จะทดสอบการทำงานของอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน ด้วยการทดสอบการตรวจจับ
– จะทดสอบหยุดเสียงแจ้งเตือน ด้วยการกดปุ่มสวิทซ์ (Acknowledge) ที่ตู้ควบคุม
– จะทดสอบการคืนค่าระบบ ด้วยการกดปุ่มสวิทซ์ (Reset) ที่ตู้ควบคุม
– จะดูการเกิดข้อผิดพลาดของระบบ (Trouble) จากอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือนที่ตู้ควบคุม

 

21.6. จัดทำการรายงานเพื่อจัดเก็บข้อมูล และเก็บประวัติของระบบ ส่งมอบให้กับทางสถานที่นั้นๆ

หมายเหตุ

ในกรณีที่ทดสอบอุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัย (Tested) แล้วพบข้อบกพร่องหรือปัญหา เช่น

1. ทดสอบอุปกรณ์แล้วไม่ทำงาน ให้ตรวจสอบดังนี้
– ให้ทำการวัดแรงดันไฟ จากขั้วต่อสายของอุปกรณ์ตัวที่เสียนั้นๆ
– ให้ทำการวัดเช็คสาย จากขั้วต่อสายของอุปกรณ์ตัวที่เสียนั้นๆ
– หาอุปกรณ์ตรวจจับตัวสุดท้าย แล้วเช็คค่า R หาความต้านทาน เช็คความผิดปกติ
– หาอุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือนที่เสีย แล้วถอดออกซ๊อตสายสัญญาณทดสอบใหม่
– หาความผิดพลาดของระบบแบบเป็นขั้นตอน และแก้ไขให้พร้อมใช้งาน

2. ในการทดสอบระบบอุปกรณ์ หากพบข้อผิดพลาดที่อุปกรณ์ใดต้องแจ้งแก้ไขหรือเปลี่ยน

3. ทำรายงานบันทึกและสรุปจำนวนอุปกรณ์ที่ทำการทดสอบกับทำความสะอาดทั้งหมด

4. ทำตารางนัดในการเข้าตรวจสอบและทดสอบระบบอุปกรณ์ในครั้งต่อไป

5. การบำรุงรักษาระบบป้องกันอัคคีภัย ต้องทำอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ระบบพร้อมทำงาน

6. ตู้ควบคุม FCP ต้องอยู่ในสภาวะปกติตลอดเวลา ถ้ามีอาการผิดปกติต้องรีบแก้ไขโดยด่วน

 

22. อายุการใช้งานเฉลี่ยสูงสุดของอุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัย จะใช้งานได้นานกี่ปี

ตอบ.

อายุการใช้งานของระบบอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์จะไม่แน่นอน บางอย่างก็สามารถใช้งานได้นานถึง

10 ปีขึ้นไป บางอย่างก็ไม่ถึง 3 ปี ขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย เช่น

– คุณภาพและมาตรฐานในการผลิต ของระบบอุปกรณ์นั้นๆ

– การติดตั้งอย่างถูกวิธี หรือไม่ ของระบบอุปกรณ์นั้นๆ

– การใช้งานอย่างถูกวิธี หรือไม่ ของระบบอุปกรณ์นั้นๆ

– การบำรุงรักษาระบบอย่างถูกวิธี หรือไม่ ของระบบอุปกรณ์นั้นๆ

 

23. ระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมีกี่แบรนด์

ตอบ.

มีจำหน่ายมากกว่า 30 แบรนด์ ทั้งหมดเป็นแบรนด์สินค้าจากต่างประเทศ เช่น

แบรนด์สินค้าจากยุโรป เช่น BOSCH , Siemens , Ziton ปัจจุบัน คือ GE

แบรนด์สินค้าจากอเมริกา เช่น Honeywell ภายใต้แบรนด์ย่อยคือ Notifier , Fire-Lite

แบรนด์สินค้าจากอเมริกาเดี่ยว เช่น GE , Johnson Control , Secutron , Simplex , Will

แบรนด์สินค้าจากแคนนาดา เช่น Edwards (EST) , Mirtone แต่ 2 แบรนด์นี้ปัจจุบัน คือ GE

แบรนด์สินค้าจากญี่ปุ่น เช่น Nohmi , Hochiki

แบรนด์สินค้าจากฮ่องกง เช่น HC ฯลฯ

แบรนด์สินค้าจากไตหวัน เช่น CEMEN , CL , Chung-mei ฯลฯ

แบรนด์สินค้าจากจีน เช่น GST , AIP ฯลฯ

แบรนด์สินค้าที่เคยจำหน่ายแต่เลิกจำหน่ายแล้ว เช่น Thorn , National , Panasonic

แบรนด์สินค้าจากอเมริกา เช่น System Sensor ที่จำหน่ายแต่อุปกรณ์ไม่จำหน่ายตู้ควบคุม

ที่แบรนด์อื่นๆนำอุปกรณ์มาจำหน่ายร่วมกับตู้ควบคุมระบบของแบรนด์นั้นๆ

 

24. ระบบป้องกันอัคคีภัยที่มีจำหน่ายในประเทศไทย เลือกใช้แบรนด์ไหนถึงจะดี

ตอบ.

คงจะอธิบายยาวมากถ้าจะให้สรุปว่าแบรนด์ไหนดี ส่วนจะใช้แบรนด์ไหนดีต้องดูที่

– มาตรฐานระบบอุปกรณ์ ดูว่าได้มาตรฐาน UL , EN , FM ตามข้อกำหนดของ NFPA หรือไม่

– มาตรฐานระบบอุปกรณ์และประวัติความเป็นมา ของแบรนด์สินค้านั้น

– ความน่าเชื่อถือและประสบการณ์ ของ บริษัทฯตัวแทนจำหน่ายแบรนด์นั้นๆ ในประเทศไทย

– มาตรฐานการออกแบบวางระบบอุปกรณ์ ตามข้อกำหนดของ NFPA หรือไม่

– มาตรฐานอุปกรณ์ในการติดตั้งและการติดตั้งระบบ ตามข้อกำหนดของ NFPA หรือไม่

– การทดสอบระบบก่อนส่งมอบงาน ของ บริษัทฯตัวแทนจำหน่ายแบรนด์นั้นๆ ในประเทศไทย

– การบริการหลังการขาย ของ บริษัทฯตัวแทนจำหน่ายแบรนด์นั้นๆ ในประเทศไทย

– การบำรุงรักษาระบบอุปกรณ์ ทางสถานที่ติดตั้งทำตามกำหนดเวลาหรือไม่

 

25. หากติดตั้ง ระบบป้องกันอัคคีภัย สามารถนำไปหักลดเบี้ยประกันอัคคีภัยได้หรือไม่

ตอบ.

ได้ครับ หรือ ติดต่อสอบถามกับตัวแทนบริษัทฯประกันนั้นๆได้

 

26. ทำประกันอัคคีภัยกับบริษัทประกัน แล้วไม่ต้องติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยได้หรือไม่

ตอบ.

ขึ้นอยู่กับสถานที่ติดตั้งครับว่าอยู่ในข้อกำหนดของกฎหมายควบคุมอาคารหรือไม่

ถ้าอาคารนั้นๆอยู่ในข้อกำหนดยังไงก็ต้องติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย แต่ถ้าไม่ได้

อยู่ในข้อกำหนดก็ไม่ต้องติดตั้งครับ ส่วนความคิดตัวผมเอง ถ้าต้องเลือกระหว่าง

ทำประกันอัคคีภัย กับติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย ผมเลือกที่จะติดตั้งระบบป้องกัน

อัคคีภัย เพราะเป็นการป้องกันหรือลดความสูญเสียจากเหตุเพลิงไหม้ ต่างกับการ

ทำประกันอัคคีภัย ซึ่งนั้นหมายถึงว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้กับสถานที่เราไปแล้ว ถึงได้

เงินทดแทนตามวงเงินที่ทำประกันไว้ แต่หากร้ายกว่านั้นเกิดมีคนเสียชีวิตจากการ

เกิดเหตุเพลิงไหม้ หรือวงเงินที่ได้จากประกันไม่พอที่จะทดแทนทรัพย์ที่สูญเสียไป

ก็คงไม่ได้ช่วยอะไรให้ดีไปกว่านี้แน่นอน ผมจึงเลือกที่จะป้องกันมากกว่าเสี่ยงดวง

 

27. ติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยแล้วเสีย หาบริษัทฯที่ติดตั้งไม่ได้แล้วทำอย่างไร

ตอบ.

ก็ต้องดูว่าท่านติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย แบรนด์อะไร รุ่นอะไร แล้วเสริท์หาข้อมูล

ของแบรนด์นั้นใน Google หากพบบริษัทที่จำหน่ายก็ติดต่อสอบถามกับเขาว่าทาง

เขาสามารถเข้ามาดูและแก้ไขให้ทางท่านได้หรือไม่ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เท่าไหร่

 

28. ติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยแล้วตู้ควบคุมเสียบ่อยมาก บริษัทที่ติดตั้งก็แก้ไม่ได้ทำอย่างไร

ตอบ.

ก็ต้องดูว่าท่านติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย แบรนด์อะไร รุ่นอะไร แล้วเสริท์หาข้อมูล

ของแบรนด์นั้นใน Google หากพบบริษัทที่จำหน่ายก็ติดต่อสอบถามกับเขาว่าทาง

เขาสามารถเข้ามาดูและแก้ไขให้ทางท่านได้หรือไม่ มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง เท่าไหร่

– หากเพิ่งติดตั้งระบบใหม่ๆแล้วเสียบ่อยๆ อาจจะเป็นที่การติดตั้งที่ไม่ถูกต้อง

– หากเพิ่งติดตั้งระบบมาปีกว่าๆแล้วเกิดเสีย อาจเป็นที่ระบบจ่ายไฟ กับคุณภาพอุปกรณ์ไม่ดี

– หากติดตั้งระบบมานานแล้วช่วงหลังเสียบ่อยๆ อาจเป็นที่การเสื่อมสภาพของอุปกรณ์

 

29. ตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัยเสียบ่อยมาก จะเสียเงินซ่อมหรือซื้อเปลี่ยนใหม่ดีกว่า

ตอบ.

ต้องดูอาการที่เสียก่อนว่าเกิดจากอะไร ถ้าเช็คแล้วซ่อมไปก็อาจเสียอีกได้หรือซ่อมแล้ว

อาทิตย์ หรือ 2 อาทิตย์เสียอีกในอาการเดิมๆ ก็ควรจะซื้อตู้ควบคุมเปลี่ยนใหม่จะดีกว่า

เพราะหากตู้ควบคุมเกิดเสียแล้วเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น ระบบตรวจจับและแจ้งเตือนไม่ได้

ความเสียหายและความสูญเสีย อาจจะมากกว่าค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนตู้ควบคุมใหม่ ซึ่ง

ทำให้ระบบมีความเสถียรพร้อมป้องกันและแจ้งเตือนลดความเสียหายให้เราได้

 

30. การออกแบบอุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัยที่ดี ต้องคำนึงถึงอะไร

ตอบ.

การออกแบบวางระบบ (Design) :

30.1. ต้องออกแบบตามมาตรฐานและข้อกำหนดของ NFPA กับ ว.ส.ท.

30.2. ต้องคำนึงถึงพื้นที่ในการติดตั้งว่าควรจะใช้ระบบอุปกรณ์ชนิดไหนจึงจะเหมาะสม

30.3. ต้องคำนึงถึงประเภทของวัสดุหรือสินค้าของพื้นที่ที่จะติดตั้ง

30.4. ต้องกำหนดชนิดและจำนวนของตู้ควบคุม กับอุปกรณ์ตรวจจับ และอุปกรณ์แจ้งเตือน

30.5. ต้องกำหนดชนิดและจำนวนของ ท่อ กับ สายนำสัญญาณ ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ

30.6. ต้องออกแบบระบบให้ครอบคลุมพื้นที่ในการป้องกันให้มากที่สุด

30.7. ต้องคำนึงถึงงบประมาณของอุปกรณ์กับค่าติดตั้งให้เหมาะสมกับพื้นที่

30.8. ต้องออกแบบระบบให้ประหยัด แต่ต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

30.9. ต้องอธิบายสรุปแบบในการวางระบบอุปกรณ์ให้กับทางลูกค้า

30.10. การออกแบบวางระบบ ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมและความซื้อสัตย์ในอาชีพ

 

31. การติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัยที่ดี ต้องคำนึงถึงอะไร

ตอบ.

การติดตั้งระบบ (Installation) :

31.1. ทีมช่างที่ติดตั้ง ต้องมีประสบการณ์ และความชำนาญในการติดตั้งระบบ

31.2. อุปกรณ์ในการติดตั้ง เช่น ท่อและสายนำสัญญาณ ต้องใช้ตามที่สรุปกับทางลูกค้า

31.3. ทีมช่างที่ติดตั้ง ต้องมีมารยาทในการติดต่อประสานงานกับลูกค้า

31.4. ทีมช่างที่ติดตั้ง ต้องมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน

31.5. ทีมช่างที่ติดตั้ง ต้องมีเครื่องมือที่พร้อมใช้ในการติดตั้งและต้องมีมาตรฐาน

31.6. ทีมช่างที่ติดตั้ง ต้องมีความระมัดระวังในการติดตั้ง กับต้องรักษาความสะอาด

31.7. ต้องมีวิศวกรหรือช่างเทคนิค ตรวจสอบการเดินท่อและสายของทีมช่างที่ติดตั้ง

31.8. ต้องมีวิศวกรหรือช่างเทคนิค เช็คทดสอบสายกับทีมช่างที่ติดตั้ง ก่อนติดอุปกรณ์

31.9. ต้องมีวิศวกรหรือช่างเทคนิค ตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์จากทีมช่างที่ติดตั้ง

31.10. Commissioning ต้องมีวิศวกรหรือช่างเทคนิค คอยโปรแกรมตู้ควบคุมและทดสอบระบบ

31.11. Testing ต้องมีวิศวกรหรือช่างเทคนิค คอยทดสอบการทำงานของระบบอุปกรณ์ทั้งหมด

31.12. Training ต้องมีวิศวกรหรือช่างเทคนิค สอนการใช้งานระบบอุปกรณ์ให้กับทางลูกค้า

31.13. ต้องทำรายงานการติดตั้งและแนบแบบการติดตั้งสรุปส่งให้กับทางลูกค้า

 

32. กฎและมาตรฐานของการติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire Alarm) มีอะไรบ้าง

ตอบ.

การออกแบบก่อสร้างและติดตั้ง รวมทั้งวัสดุและอุปกรณ์ ของ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

จะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน และข้อกำหนด ซึ่งกำหนดขึ้นโดยหน่วยงาน หรือสถาบัน

ดังต่อไปนี้

– การไฟฟ้านครหลวง / ภูมิภาค (กฟน. / กฟภ.)

– สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

– สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.)

– กฎกระทรวงมหาดไทย

– พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ พ.ศ. 2535

– พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535

– The National Electrical Code (NEC)

– International Electro-Technical Commission (IEC)

– American National Standards Institute (ANSI)

– Underwriter’s Laboratories Inc. (UL)

– National Electrical Manufacturers Association (NEMA)

– National Fire Protection Association (NFPA)

– มาตรฐานอื่นๆ ซึ่งเป็นมาตรฐานของประเทศผู้ผลิตวัสดุ หรืออุปกรณ์เฉพาะอย่างนั้นๆ

– การติดตั้งอุปกรณ์ทั้งหมด จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดหรือตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิต

 

33. การปรับปรุงระบบ (Renovate) ทำเพื่ออะไร

ตอบ.

การปรับปรุงระบบป้องกันอัคคีภัย เพื่อให้ระบบพร้อมทำงาน กับได้ประโยชน์สูงสุดใน

การใช้งาน กับลดความสูญเสียจากเหตุเพลิงไหม้ และยังประหยัดงบประมาณในการ

ซ่อมบำรุง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เช่น

– การปรับปรุงตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย ที่มีปัญหาอาการเสียบ่อยๆ จากหลายๆสาเหตุ

– การปรับปรุงตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย ที่มีปัญหาเสีย ทำการเปลี่ยนอะไหล่แล้วก็ไม่หาย

– การปรับปรุงตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย ที่มีปัญหาอาการเสีย จากอายุการใช้งานมานาน

– การปรับปรุงตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัย แทนระบบตู้ควบคุมเดิม เพื่อให้ควบคุมระบบได้ดีขึ้น

– การปรับปรุงอุปกรณ์ตรวจจับระบบป้องกันอัคคีภัย ที่มีปัญหาเสียจากอายุการใช้งานมานาน

– การปรับปรุงอุปกรณ์แจ้งเตือนระบบป้องกันอัคคีภัย ที่มีปัญหาเสียจากอายุการใช้งานมานาน

– การปรับปรุงสายสัญญาณระบบป้องกันอัคคีภัย ที่มีปัญหาเสื่อมสภาพจากอายุการใช้งานมานาน

– การปรับปรุงระบบป้องกันอัคคีภัยใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ระบบมีประสิทธิภาพในการป้องกัน

 

34. ระบบป้องกันอัคคีภัย ของแบรนด์ราคาถูก กับแบรนด์ราคาแพง ต่างกันอย่างไร

ตอบ.

ถ้าเปรียบเทียบจากคุณสมบัติแต่ละอุปกรณ์ และจำนวนอุปกรณ์ที่เทียบเท่ากันในแบบ

แบรนด์ราคาแพง จะดีกว่าทั้งมาตรฐานระบบอุปกรณ์ กับฟังก์ชั่นการทำงานของระบบ

และความเสถียรของระบบอุปกรณ์ ส่วนอายุการใช้งานขึ้นอยู่กับหลายๆปัจจัย ซึ่งการ

ตอบแบบนี้อาจจะไม่เป็นธรรมกับแบรนด์ราคาถูก แต่ตอบจากประสบการณ์ที่ผ่านมา

 

35. ระบบป้องกันอัคคีภัยของแบรนด์ดังๆ ต่างๆทำไมถึงมีราคาแพง

ตอบ.

ทุกๆแบรนด์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย เป็นสินค้านำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งหมด

โดยที่ไม่มีแบรนด์ที่คนไทยคิด หรือผลิตมาจำหน่ายเลยแม้แต่แบรนด์เดียว ทำให้ไม่

สามารถจะจำหน่ายในราคาที่ถูกได้ แม้แต่สินค้าเกรดจีนก็ใช่ว่าจะราคาถูกจริงๆ

 

36. องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของ ระบบป้องกันอัคคีภัย คืออะไร

ตอบ.

มาตรฐานของระบบอุปกรณ์ กับการติดตั้งตามมาตรฐาน และการบำรุงรักษาระบบอย่างสม่ำเสมอ

 

37. ปัญหาอาการเสียส่วนใหญ่ของระบบป้องกันอัคคีภัย คืออะไร

ตอบ.

37.1. การออกแบบวางระบบอุปกรณ์ที่ไม่ถูกต้อง และไม่คำนึงถึงมาตรฐาน

37.2. การคำนวณแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงระบบที่ไม่ถูกต้อง และไม่คำนึงถึงมาตรฐาน

37.3. การติดตั้งที่ไม่ถูกวิธีทั้ง การเดินสายนำสัญญาณ และระบบอุปกรณ์

37.4. ไม่มีคนดูแล และไม่ทำการบำรุงรักษาระบบให้สม่ำเสมอ

37.5. การเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานของระบบอุปกรณ์ แต่ละแบรนด์ต่างกัน

37.6. ระบบไฟฟ้าของทางสถานที่ติดตั้งที่ไม่มีความเสถียร

37.7. เลือกใช้ระบบอุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพต่ำ

 

38. ให้ช่างไฟทั่วไป เดินสายและซื้ออุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัย มาติดตั้งดีไหม

ตอบ.

38.1. ต้องดูว่าเขาติดตั้งเดินสายนำสัญญาณถูกต้องตามมาตรฐานได้หรือไม่

38.2. ต้องดูว่าเขาติดตั้งอุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัยตามมาตรฐานได้หรือไม่

38.3. ต้องดูว่าเขาติดตั้งโปรแกรมตู้ควบคุมระบบป้องกันอัคคีภัยให้ได้หรือไม่

38.4. ต้องดูว่าเขาสอนการใช้งานอุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัยให้ได้หรือไม่

38.5. ต้องดูว่าเขาให้บริการระบบป้องกันอัคคีภัยหลังติดตั้งไปแล้วได้หรือไม่

38.6. ต้องดูว่าเขาวิเคราะห์ปัญหาหากเกิดอาการเสียของระบบให้ได้หรือไม่

38.7. ต้องดูว่าเขาซ่อมหรือหาอะไหล่ระบบป้องกันอัคคีภัยเปลี่ยนให้ได้หรือไม่

38.8. ต้องแน่ใจด้วยตัวคุณเองว่าเขาขายและติดตั้งให้แล้ว จะไม่ทอดทิ้งคุณ

 

39. ถ้าซื้อแต่อุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัย แล้วจ้างช่างอื่นเดินท่อ-เดินสายให้ได้หรือไม่

ตอบ.

ทำได้ครับ แต่ต้องให้บริษัทฯที่ท่านซื้ออุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัย เป็นผู้สอน

การติดตั้งให้กับช่างที่ทางท่านจ้างเดินท่อ-เดินสาย แล้วให้บริษัทนี้เป็นผู้ตรวจ

สอบการติดตั้งเดินท่อ-เดินสายของช่างท่าน ส่วนการติดตั้งตู้ควบคุมระบบกับ

โปรแกรมระบบและสอนการใช้ระบบให้บริษัทนี้เป็นทำให้ครับ จะลดปัญหาการ

ทำงานและใช้งานของระบบได้ดีกว่า

 

40. อุปกรณ์ตรวจจับควัน Smoke ของระบบป้องกันอัคคีภัย สามารถจับควันบุหรี่ได้หรือไม่

ตอบ.

ต้องดูสถานที่กับตำแหน่งในการติดตั้งครับ โดยปกติแล้วควันบุหรี่ 1 ม้วน

ถ้าไม่ได้ไปพ่นใส่ในห้องดักจับควันบนตัวอุปกรณ์ อุปกรณ์ตรวจจับควันก็

ไม่สารารถจะตรวจจับได้ทันที เพราะควันบุหรี่ 1 ม้วน จะมีความหนาแน่น

และมีความเบาบางของควันน้อยกว่า ควันของเหตุเพลิงไหม้ปกติมาก

 

41. อุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัย สามารถหาที่ซ่อมได้ที่ไหนบ้าง

ตอบ.

ส่งซ่อมกับทางบริษัทฯที่ซื้อมา หรือหากบริษัทฯที่ซื้อมาไม่มีแล้วก็ลองหาบริษัทฯ

ที่ขายแบรนด์อุปกรณ์เดียวกันกับที่ซื้อมา หรือแบรนด์ที่ได้ซื้อมาไม่มีจำหน่ายแล้ว

ก็ควรจะซื้ออุปกรณ์ใหม่มากกว่าจะซ่อม เพราะถึงมีคนซ่อมได้ก็คงไม่มีอะไหล่ที่จะ

นำมาซ่อมอุปกรณ์

 

 

สอบถามข้อมูลโดยตรงได้ที่

 

เบอร์โทรศัพท์ 02-740-3975 – 6

 

 

ระบบต่างๆที่เกี่ยวข้อง

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

Powered by WordPress | T-Mobile Phones for Sale at BestInCellPhones.com | Thanks to Free Phones at iCellPhoneDeals.com, Free MMORPG Games and Fat burning furnace review
Mr. Somboon Kangsanonkul