Mr. Somboon Kangsanonkul

อุปกรณ์ตรวจจับ Smoke Detector ทำงานอย่างไร

SMOKE DETECTOR BY SOMBOON

 

 

อุปกรณ์ตรวจจับควัน Smoke Detector จะมีด้วยกันอยู่ 2 แบบ หลักๆ คือ

1. แบบ Ionization Smoke Detector

2. แบบ Photoelectric Smoke Detector

โดยทั้ง 2 แบบนี้จะมี Sensing Chamber (ห้องจับควัน) ที่แตกต่างกัน มีหลักการทำงานที่ต่าง

กันในการจับการสันดาป ซึ่งทำให้เกิดอณูในขนาดที่มองเห็น และมองไม่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ถึง

สามารถตรวจจับควันที่ลอยขึ้นมาจากเหตุเพลิงไหม้ได้ทั้งแบบมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และมอง

เห็นไม่ได้ด้วยตาเปล่า

 

การทำงานของแบบ Ionization Smoke Detector

โดยทั่วไปแล้วแบบ Ionization Smoke Detector จะประกอบไปด้วย แผ่นชาร์จประจุ และ

สารแผ่รังสี (โดยทั่วไปใช้ Americium 241) ใช้ Ionized อากาศที่อยู่ระหว่างแผ่นชาร์จประจุ

(ดูภาพ Figure 3-1)

 

สารแผ่รังสี จะแผ่รังสีให้กับโมเลกุลของอากาศ ซึ่งจะส่งรังสีอณูเล็กๆ วิ่งไปชนกระแทก กับ

โมเลกุลของอากาศ ทำให้อิเลคตรอนของโมเลกุลของอากาศกระเด็นออกไป ขณะที่โมเลกุลนั้นๆ

เสียประจุอิเลคตรอนไป จะมีประจุเป็นบวก (+) อิเลคตรอนที่กระเด็นออก จะวิ่งไปหาโมเลกุลอื่น

ทำให้โมเลกุลนั้นได้รับ อิเลคตรอนเพิ่ม กลายเป็นประจุลบ (-) จำนวนโมเลกุลประจุ + และ

ประจุ (-) ของอากาศในห้อง Sensing Chamber จะมีจำนวนเท่ากัน โมเลกุลของประจุ (+)

จะวิ่งไปหาแผ่นชาร์จประจุ (-) โมเลกุลประจุ (-) จึงวิ่งไปหาแผ่นชาร์จประจุ (+) ทำให้เกิด

กระแสไฟฟ้าไหลหมุนเวียนระดับหนึ่ง

(ให้ดูที่ภาพ Figure 3-2)

 

กระแสไฟฟ้าหมุนเวียนดังกล่าว สามารถวัดได้โดยวงจรไฟฟ้าที่ต่อเข้ากับ แผ่นชาร์จประจุทั้งสอง

เมื่อมีการทำสันดาป จากการเผาไหม้เกิดขึ้น อณูที่เกิดจากการสันดาปจะใหญ่กว่า โมเลกุลของ

อากาศที่ถูก Ionized มาก เมื่ออณูของการสันดาปเข้ามาในห้อง Sensing Chamber นี้

โมเลกุลของอากาศที่ถูก Ionized จะวิ่งชนกับอณูที่เกิดจากการสันดาป

(ให้ดูที่ภาี่พ Figure 3-3)

 

ทำให้เกิดการถ่ายเทประจุระหว่าง อณูสันดาป และ โมเลกุลอากาศ Ionized อณูที่เกิดจาก

การสันดาปบางตัวก็เป็น + บางตัวก็เป็น ? เนื่องจากอณูที่เกิดจากการสันดาป ดังกล่าวนี้เป็น

อณูที่ใหญ่กว่าโมเลกุลของ อากาศมาก มันจึงรวมตัวอยู่ระหว่างกลาง เมื่ออณูสันดาปเข้ามา

เพิ่มขึ้น และถ่ายเทประจุ และรวมกลุ่มกันมากขึ้นจะทำให้โมเลกุลที่ถูก Ionized ของอากาศ

ลดลงทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหลลดลงไปตามลำดับ เมื่อมาถึงจุดๆหนึ่ง (เกิดพิกัด) วงจรที่ใช้

วัดค่ากระแสจะส่งสัญญาณ Alarm การเปลี่ยนแปลงของความชื้น และ ความกดดันของบรรยา

กาศ จะมีผลต่อการไหลของกระแสไฟฟ้าด้วย ซึ่งจะคล้ายกับผลที่ได้จากที่มี อณูการสันดาป

เข้ามาในห้อง Sensing Chamber ดังนั้น เพื่อชดเชยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ของ

ความชื้น และการเปลี่ยนแปลงความกดดันในบรรยากาศ บริษัทฯ ผู้ผลิตพวกอุปกรณ์

Smoke Detector แบบ Ionization จึงได้พัฒนาการตรวจจับแบบ Dual Ionization

Chamber (ห้องจับควันคู่) (ให้ดูที่ภาพ Figure 3-4)

 

โดยที่ห้องตรวจจับควัน (Ionization Chamber) ทั้งสองห้องสามารถให้ความชื้น และความกดดัน

ของบรรยากาศเข้าไปได้เหมือนกัน แต่ห้องหนึ่งไม่ให้อณูของ การสันดาป กับ ฝุ่นละออง เข้าไป

ถือเป็น Reference Chamber (ห้องสำหรับเทียบค่า) ส่วนอีกห้องให้อณูการสันดาปเข้าไปได้ตาม

ปกติ เมื่อความชื้นในบรรยากาศ หรือ ความดันบรรยากาศเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เกิดความเปลี่ยน

แปลงทั้งสองห้องเท่ากัน หักลบกันแล้วจะเป็นศูนย์ แต่ถ้ามีอณูจากการสันดาปเข้าไปห้องหนึ่ง ทำ

ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการไหล ของ กระแสไฟมากกว่าอีกห้อง เมื่อเทียบกันแล้วเปลี่ยนแปลงไป

เกินพิกัด จึงจะส่งแจ้งสัญญาณ Alarm (ให้ดูที่ภาพ Figure 3-5)

 

สำหรับ Dual Chamber Ionization Smoke Detector นี้ ถ้าหากมี ฝุ่น และ ความชื้น มากเกินไป

(มีหยดน้ำเกาะ) ลมแรงไป หรือ แมลงขนาดเล็กเหล่านี้ สามารถสร้างปัญหาให้กับ Smoke

Detector แบบนี้ได้ ซึ่งจะอ่านค่าออกเป็นอณูสันดาป และส่งสัญญาณ Alarm ไม่ถูกต้อง ยิ่ง

Smoke Detectorมีความไวมากเท่าใด ก็จะมีผลต่อการส่งสัญญาณ Alarm ให้ผิดเพี้ยนมากขึ้นเ

ท่านั้น

 

การทำงานของแบบ Photoelectric (Optical) Smoke Detector

ควันที่เกิดจากเพลิงไหม้ สามารถบังลำแสง และ ทำให้ความเข้มของแสงลดลงได้ หรือทำให้เกิด

การกระจายแสงโดยแสงสะท้อนจากอณูของควันไฟ Photoelectric Smoke Detector อาศัย

หลักการนี้ ในการตรวจจับควันไฟ

Photoelectric Light Obscuration Smoke Detector (ใช้การบังแสง)

อุปกรณ์ตรวจจับสัญญาณควันที่ใช้หลักการง่ายๆ ในการบังแสงของควันก็ คือ Beam Type

SmokeDetector ซึ่งจะใช้ควันบังแสง Photodiode (ให้ดูที่ภาพ Figure 3-6) เมื่ออณู

ของควันเข้าไปบังแสง (ให้ดูที่ภาพ Figure 3-7)

 

ทำให้ลดความเข้มของแสงที่จะได้รับบนอุปกรณ์ไวแสง การเปลี่ยนแปลงความเข้มของแสงนี้วัดให้

โดยวงจรภายใน และ เมื่อความเข้มลดลงถึงจุดที่เลยพิกัด จะแจ้งส่งสัญญาณ Alarm

 

Photoelectric Optical Light Scattering Smoke Detector

อุปกรณ์ตรวจจับควันโดยการกระจายแสงสะท้อน Photoelectric Smoke Detector ส่วนใหญ่แล้ว

ทำงานโดยใช้หลักการ ของ การกระจายแสงสะท้อน โดยใช้หลอด Light Emitting Diode (LED)

ส่องแสงไปบริเวณที่ตัวส่ง Photosensitive Element (อุปกรณ์ไวแสง) มองไม่เห็น โดยทั่วไปใช้

Photodiode (ให้ดูที่ภาพ Figure 3-8)

 

เมื่ออณูของควันเข้าไปขวางอยู่ทางเดินของแสงจาก LED จะกระทบกับอณูของควัน

(ดูที่ Figure 3-9)

 

และ สะท้อนแสงสู่ Photosensitive Device (อุปกรณ์ไวแสง) ทำให้อุปกรณ์ทำงาน

 

Smoke Detector Design Consideration :

การพิจารณาหลักการออกแบบอุปกรณ์ตรวจจับควัน :

Smoke Detector นั้นใช้หลักการทำงานง่าย ๆ แต่การออกแบบการใช้งาน ควรจะคำนึงถึง

หลักบางประการ Smoke Detector ต้องทำงานได้เมื่อตรวจจับควันได้ แต่ควรลดการแจ้ง

เตือนที่ผิดพลาดที่ไม่ได้เกิดจากควันจริงๆ ซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการ สำหรับ

Ionization Smoke Detector ฝุ่น และคราบสกปรกที่สะสมบนสารแผ่รังสี จะทำให้

Smoke Detector ตรวจจับไวเกินไป ส่วนในแบบ Photoelectric Smoke Detector

นั้น ฝุ่นที่เกาะตามผนังของห้อง Sensing Chamber อาจจะเพิ่มแสงสะท้อนสู่

Photosensitive Element ทำให้เกิดการแจ้งเตือนที่ผิดพลาดได้เช่นกัน กระแสไฟ

กระเพื่อม หรือรังสีบางชนิดสามารถมีผลกระทบต่อวงจร ของ Smoke Detector ทั้ง

สองแบบได้ และแปลความหมายเป็นควัน ซึ่งทำให้เกิดการแจ้งเตือนที่ผิดพลาดได้ ดังนั้น

ค่าความไว ของตัว Smoke Detector ต้องอยู่ในระดับที่พอเหมาะ ตามที่ได้กำหนดไว้

โดยสถาบันรับรอง หรือ สถาบันทดสอบ ที่น่าเชื่อถือของโลก เช่นที่สถาบัน Loss

Prevention Certification Board (LPCB) ของประเทศอังกฤษ หรือ Under

Writer Laboratory (UL) ของ ประเทศสหรัฐอเมริกา (USA) เป็นต้น

ซึ่งสถาบันเหล่านี้สามารถตรวจสอบ และทดสอบ Smoke Detector ในห้องทดสอบ

Fire Test ได้ จำลองการเผาไหม้จริงจากเชื้อเพลิงหลายชนิด เพื่อทดสอบประสิทธิ

ภาพการตรวจจับควันของอุปกรณ์ Smoke Detector นั้นๆ ทั้งนี้ไม่ว่า Smoke Detector

จะออกแบบมาให้มีหลักการทำงานอย่างไรก็ตามที่สำคัญ คือ จะต้องสามารถตรวจจับควันได้

ตามมาตรฐาน และตามที่คุณสมบัติของระบบอุปกรณ์กำหนดได้ไว้

 

การพิจารณาเลือกใช้ Smoke Detector

คุณลักษณะเฉพาะของ Ionization Smoke Detector ทำให้เหมาะสำหรับการจับควันที่เกิด

จากการเผาไหม้ที่เกิดเปลวไฟ อย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดอณูขนาดเล็ก ประมาณ 0.01 ถึง 0.3

ไมคอน (Micron) ส่วน Photoelectric Smoke Detector นั้น เหมาะสำหรับจับควันที่

เกิดจากการเผาไหม้อย่างช้าๆ โดยมีอณูที่ขนาด 0.3 ? 10 Micron ทั้งนี้ทั้งนั้น Smoke

Detector ทั้ง 2 แบบสามารถจับควันที่เกิดจากการเผาไหม้ ทั้งสองได้เช่นเดียวกัน จะต่างกัน

ก็ตรงที่เวลาตอบสนองต่อควันไฟแต่ละชนิดเท่านั้น การป้องกันเพลิงไหม้ในอาคารนั้น จะมี

เชื้อเพลิงอยู่หลายชนิด จึงเป็นการยากที่จะบอกได้ว่า เมื่อเกิดเพลิงไหม้จะเกิดควันประเภทใด

ออกมา โดยความจริงแล้วต้นกำเนิดเพลิงเดียวกันอาจจะก่อให้เกิดเพลิงไหม้ที่แตกต่างกัน

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าทิ้งก้นบุหรี่บน โซฟา หรือ เตียงนอน จะก่อให้เกิดไฟไหม้ที่ลามอย่างช้าๆ

แต่ถ้าทิ้งก้นบุหรี่ลงไปบนกระดาษหนังสือพิมพ์ที่วางบนโซฟา หรือเตียงนอนจะทำให้เกิดเ

พลิงไหม้โดยเกิดเปลวไฟขึ้นอย่างรวดเร็วได้

 

Photoelectric Smoke Detector

ตามที่กล่าวมาข้างต้นว่า Ionization Smoke Detector นั้นตรวจจับควัน ประเภทที่ลุกไหม้เป็น

เปลวไฟอย่างรวดเร็ว (Fast Fire) ได้เร็วกว่า Photoelectric Smoke Detector ดังนั้น จึงมี

ผู้พัฒนาอุปกรณ์เสริมในตัว Photoelectric Smoke Detector เพื่อให้ทำงานได้สมบูรณ์มากขึ้น นั้น

โดยทำการเพิ่ม Heat Detector แบบ Fixed Temperature เข้าไปในตัว Photoelectric Smoke

Detector ส่วนใหญ่แล้ว จะเรียกว่า Photoelectric Smoke & Heat Detector

 

หลักการทำงานของ Photoelectric Smoke & Heat Detector

คือ เมื่อเกิดเพลิงไหม้ที่เกิดเปลวไฟเผาไหม้ อย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่แล้วจะก่อเกิดความร้อนขึ้นมาก

เช่นกัน Heat Detector ในตัว Smoke Detector นั้นจะตรวจจับความร้อนได้ และวงจรภายใน

จะสั่งให้ Smoke Detector จะปรับค่าตัวเองให้ไวขึ้น สามารถจับควันที่เกิดขึ้นได้รวดเร็วกว่าการ

จับควันในสภาวะปกติ ซึ่งจะสามารถชดเชยจุดด้อยของมันได้ จึงสามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์

สำหรับการเกิดเพลิงไหม้ ทั้งแบบที่ค่อย ๆ ลามช้า ๆ และ แบบเพลิงไหม้ ประเภท เกิดเปลวไฟขึ้น

อย่างรวดเร็ว

 

สำหรับประเทศไทยนั้น เราไม่ได้ผลิตอุปกรณ์ Smoke Detector เอง เนื่องจากมีปริมาณการใช้

อุปกรณ์ Smoke Detector ไม่มากพอที่จะผลิตให้ได้ต้นทุนที่เหมาะสม หรือ กล่าวได้อีกนัยหนึ่ง

ว่า ไม่ได้ Economy Of Scale ดังนั้น เองอุปกรณ์ Smoke Detector ที่มีจำหน่ายในประเทศ

ไทย จึงเป็นการนำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งสิ้น แต่ส่วนอุปกรณ์ตรวจจับควัน Smoke Detector

แบบ Ionization Smoke Detector ใช้สารกัมมันตภาพรังสี Americium 241 เป็นแหล่งพลัง

งาน Energy Source ในการ Ionization ทำให้ต้องขออนุญาตนำเข้าตามกฎระเบียบของ ทาง

ราชการ และทำให้ต้องเพิ่มต้นทุนในการนำเข้าสินค้า ดังนั้น ผู้จำหน่าย Smoke Detector ส่วน

ใหญ่จึงนิยมนำเข้ามา เฉพาะอุปกรณ์ตรวจจับควันแบบ Photoelectric Smoke Detector หรือ

อุปกรณ์ตรวจจับควันและตรวจจับความร้อน Photoelectric Smoke and Heat Detector กับ

อุปกรณ์ตรวจจับควันและตรวจจับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ Photoelectric Smoke / Carbon

Monoxide Sensors และ อุปกรณ์ตรวจจับควันกับตรวจจับความร้อนและตรวจจับก๊าซคาร์บอน

มอนอกไซด์ Photoelectric Smoke with Heat Detector & Carbon Monoxide Sensor

เพราะคุณภาพไม่ต่างกัน และมีความปลอดภัยมากกว่า

 

บทความนี้ : เขียนและเรียบเรียง โดย Mr. Somboon Vecthai

 

หมายเหตุ : บทความนี้ได้นำข้อมูลบางส่วน และนำภาพประกอบ มาจากหนังสือเรื่อง

                  Guide For Proper Use Of System Smoke Detector ของ บริษัท System Sensor

                  ประเทศ สหรัฐอเมริกา (USA) ฉบับที่ 150-407-2

                  ดาวน์โหลดต้นฉบับที่มาของบทความ คลิกที่นี่ »

 

 

 

 

การบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

การบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

 

Preventive Maintenance Fire Alarm System (PM – FAS)

 

 

ทางบริษัท เวอลแซทไทล์ อิเล็คทรอนิคส์ จำกัด เป็นผู้จัดจำหน่ายระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ กับ

ให้บริการบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ จากประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับระบบนี้ทั้ง

– การแนะนำระบบ (Advising System)

– การออกแบบวางระบบ (Design System)

– การติดตั้งและเซ็ตระบบ (Installation & Commissioning System)

– การปรับปรุงระบบ (Renovate System)

– การทดสอบและบำรุงรักษาระบบ (Testing & Maintenance System)

ตลอดจนปัจจุบันนี้รวมระยะเวลาในการทำระบบนี้มาแล้วไม่ต่ำกว่า 7 ปี พร้อมด้วยความชำนาญ

กับความรู้ในการแก้ไขปัญหาระบบ และความซื่อสัตย์ในการทำงาน ซึ่งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

ที่ทางบริษัทฯ จัดจำหน่ายกับติดตั้ง และเซ็ตระบบ (Sales – Installation & Commissioning)

ให้คือ อุปกรณ์ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ของแบรนด์

1. Notifier By Honeywell Fire Alarm System

2. System Sensor Fire Alarm System (Other Device)

3. GE Fire Alarm System หรือแบรนด์ Edwards (EST) เดิม หรือ Mirtone เดิม

4. BOSCH Fire Alarm System

    ยกเว้น รุ่นของสินค้าที่เลิกผลิตแล้ว (Discontinued Products)

 

ส่วนการปรับปรุงระบบ (Renovate System) ทางบริษัทฯ จะรับปรับปรุงระบบเดิม หรือระบบที่มี

ปัญหาของทางลูกค้า ด้วยการตรวจเช็ค กับแก้ไข และ ปรับเปลี่ยนระบบอุปกรณ์ที่เสีย หรือ ที่มี

ปัญหาให้สามารถทำงานได้ตามปกติ โดยทางบริษัทฯ สามารถรับทำให้ได้ 2 แบบ คือ

1. สามารถปรับปรุง ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ชนิด Hard-wire (Conventional) ได้ทุกๆ แบรนด์

2. สามารถปรับปรุง ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ชนิด MULTIPLEX (Addressable) ได้เฉพาะของ

    แบรนด์ด้านล่างนี้

    1. Notifier By Honeywell Fire Alarm System

    2. System Sensor Fire Alarm System (Other Device)

    3. GE Fire Alarm System หรือแบรนด์ Edwards (EST) เดิม หรือ Mirtone เดิม

    4. BOSCH Fire Alarm System

        ยกเว้น รุ่นของสินค้าที่เลิกผลิตแล้ว (Discontinued Products)

 

ส่วนการทดสอบและบำรุงรักษาระบบ (Testing & Maintenance System) ทางบริษัทฯสามารถ

รับทำให้ได้ 2 แบบ คือ

1. สามารถทดสอบและบำรุงรักษา ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ชนิด Hard-wire (Conventional)

    ได้ทุกๆ แบรนด์

2. สามารถทดสอบและบำรุงรักษา ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ชนิด Multiplex (Addressable) ได้

    เฉพาะของแบรนด์ด้านล่างนี้

    1. Notifier By Honeywell Fire Alarm System

    2. System Sensor Fire Alarm System (Other Device)

    3. GE Fire Alarm System หรือแบรนด์ Edwards (EST) เดิม หรือ Mirtone เดิม

    4. BOSCH Fire Alarm System

        ยกเว้น รุ่นของสินค้าที่เลิกผลิตแล้ว (Discontinued Products)

 

ดาวน์โหลด วิธีการบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

(Preventive Maintenance (P.M.) Fire Alarm System) » คลิกดาวน์โหลดที่นี่ »

 

 

 

      ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้หรือระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire Alarm System) เป็นระบบ

ที่ติดตั้งไว้เพื่อแจ้งเตือน ผู้ที่พักอาศัยอยู่ภายในอาคารให้ทราบเหตุเพลิงไหม้ตั้งแต่เริ่ม

ต้น เพื่อให้สามารถระงับเหตุเพลิงไหม้ตั้งแต่เริ่มต้นได้ทันเวลา กับสามารถที่จะประสาน

งานขอความช่วยเหลือในการดับเพลิงต่างๆ กับ สามารถขนย้ายทรัพย์สินที่จำเป็น และ

การอพยพหนีไฟให้เป็นไปตามขั้นตอนต่างๆ ที่ทำการฝึกซ้อมไว้อย่างเป็นระบบ โดยใน

ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ จะประกอบไปด้วย

 

1. ตู้ควบคุมระบบแจ้งเตือนเพลิงไหม้ (Fire Alarm Control Panel) เช่น

    – ตู้ควบคุมแบบธรรมดา (Conventional Fire Alarm Control Panel Hardwire)

    – ตู้ควบคุมแบบระบุตำแหน่ง (Addressable Fire Alarm Control Panel Multiplex)

        และอุปกรณ์โมดูลควบคุมอื่นๆ (Other Modules Device)

 

2. แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply with Battery Back-up) เช่น

    – แหล่งจ่ายไฟ แบบมีติดตั้งรวมอยู่ในตู้ควบคุม (Internal)

    – แหล่งจ่ายไฟ แบบต่อไว้ห่างจากตู้ควบคุม (External)

    – แบตเตอรี่ แบบมีติดตั้งรวมอยู่ในตู้ควบคุม (Internal)

    – แบตเตอรี่ แบบต่อไว้ห่างจากตู้ควบคุม (External) ในตู้แหล่งจ่ายไฟ

 

3. อุปกรณ์กำเนิดสัญญาณเพลิงไหม้ (Signal Initiating Devices) เช่น

    – อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบธรรมดา (Conventional Smoke Detector)

        เดินระบบไว้แบบ 2 สาย (Two Wire) หรือเดินระบบไว้แบบ 4 สาย (Four Wire)

    – อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Smoke Detector)

        เดินระบบไว้แบบวนกลับ 2 สาย (Two Wire Loop)

    – อุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสงบีม แบบธรรมดา (Conventional Beam Smoke)

        เดินระบบไว้แบบ 4 สาย (Four Wire)

    – อุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสงบีม แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Beam Smoke)

        เดินระบบไว้แบบวนกลับ 2 สาย (Two Wire Loop)

    – อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ แบบธรรมดา (Conventional Flame Detector)

        เดินระบบไว้แบบ 4 สาย (Four Wire)

    – อุปกรณ์ตรวจจับแก๊ส แบบธรรมดา (Conventional GAS Detector)

        เดินระบบไว้แบบ 4 สาย (Four Wire)

    – อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ แบบธรรมดา (Conventional Manual Station)

        เดินระบบไว้แบบ 2 สาย (Two Wire)

    – อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Manual Station)

        เดินระบบไว้แบบวนกลับ 2 สาย (Two Wire Loop)

 

4. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ (Audible Alarm Devices) เช่น

    – อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียง แบบธรรมดา (Conventional Bell ,Horn ,Sounder)

        เดินระบบไว้แบบ 2 สาย (Two Wire)

    – อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียง แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Horn ,Sounder)

        เดินระบบไว้แบบวนกลับ 2 สาย (Two Wire Loop)

    – อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสง แบบธรรมดา (Conventional Strobe ,Horn-Strobe)

        เดินระบบไว้แบบ 2 สาย (Two Wire)

    – อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสง แบบระบุตำแหน่ง (Addressable Strobe ,Horn-Strobe)

        เดินระบบไว้แบบวนกลับ 2 สาย (Two Wire Loop)

    – อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียงประกาศ (Speaker or Speaker and Strobe)

        เดินระบบไว้แบบ 2 สาย (Two Wire)

 

5. อุปกรณ์ประกอบอื่นๆ (Other Devices) เช่น

    – แผงควบคุมและแสดงผลระยะไกล จากตู้ควบคุมหลัก (Remote Annunciator)

    – ตู้แผนผังแสดงตำแหน่งจุดเกิดเหตุเพลิงไหม้ (Graphic Annunciator)

    – ชุดระบบโทรศัพท์ติดต่อแจ้งเหตุฉุกเฉิน (Firefighter’s Master Telephone)

    – ชุดระบบเสียงประกาศแจ้งเตือนการอพยพ (Audio Voice Evacuation)

 

      ผู้ติดตั้งระบบควรให้ความรู้กับหลักการทำงานของ อุปกรณ์ตรวจจับชนิดต่างๆ พร้อม

ทั้งให้คำแนะนำในการใช้งาน กับการตรวจสอบ กับการทดสอบ และการบำรุงรักษาระบบ

ตามคาบเวลาที่กำหนด เมื่อทำการติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งชุดอุปกรณ์ระบบแจ้งเหตุ

เพลิงไหม้ ที่กล่าวถึงนี้เป็นอุปกรณ์สากลที่สามารถติดตั้งใช้งานได้กับอาคารต่างๆ ทั่วไป

แล้วระบบอุปกรณ์ควรได้รับมาตรฐาน UL Listed ,FM กับบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์ต้องได้รับ

มาตรฐาน ISO 9001 และ บริษัทผู้ที่จำหน่ายกับติดตั้งระบบให้ต้องเป็นที่เชื่อถือได้ โดย

ให้เป็นไปตามมาตรฐาน NFPA70 ,72 หรือมาตรฐานระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ของ วสท.

 

      ส่วนสำคัญที่สุดในการใช้งาน ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm Systems) ก็คือ

การบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Preventive Maintenance Fire Alarm System)

เพราะจะทำให้การทำงานของระบบทั้งหมดนั้น มีความพร้อมในการตรวจจับ และสามารถ

ทำการแจ้งเตือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะอุปกรณ์ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต่างๆ เป็น

อุปกรณ์อิเล็คโทรนิคส์ ที่มีขีดจำกัดในการทำงานตามสภาวะแวดล้อม และสามารถเสื่อม

สภาพได้ตามกาลเวลา กับสิ่งที่ทำไให้อุปกรณ์เกิดปัญหาต่างๆ ได้เช่น การติดตั้งที่ไม่ได้

มาตรฐาน กับสายหลุดจากจุดเชื่อมต่อ กับสายชำรุด-ขาด กับเกิดการลัดวงจร กับการวน์

ผิดปกติ กับ ติดตั้งอุปกรณ์ไว้ในจุดที่อุณหภูมิต่างๆ มากเกินกว่าที่ตัวอุปกรณ์จะรองรับได้

และปัญหาจากฝุ่นกับแมลงต่างๆ ไปทำให้ระบบอุปกรณ์ทำงานผิดพลาด หรืออาจเสียได้

ด้วยปัญหาต่างๆ ของ ระบบอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ ดังกล่าวนี้ ทำให้จำเป็นต้องมีการ

บำรุงรักษาระบบ อย่างสม่ำเสมอ และควรทำอย่างต่อเนื่อง จงอย่าคาดหวังกับระบบที่ไม่

มีการบำรุงรักษา และ ขาดการดูแลจากผู้ใช้งาน ถึงแม้จะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าไว้อยู่ตลาดเวลา

ก็คงจะทำอะไรได้ไม่ทัน ถ้าไม่ทราบเหตุเพลิงไหม้ และตำแหน่งจุดเกิดเหตุอย่างรวดเร็ว

 

 

 

    มาตรฐานการตรวจสอบ กับทดสอบ และบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

 

1. มักจะจัดเป็นรายสัปดาห์ รายครึ่งปี และรายปี

    1.1. รายสัปดาห์ มักจะเป็นการตรวจสอบด้วยสายตา เช่น ความเรียบร้อยโดยทั่วไปของ

          ระบบอุปกรณ์ ยังมีอยู่ครบถ้วนหรือไม่ กับป้ายเตือนต่างๆ อยู่ในสภาพและตำแหน่ง

          ที่สังเกตุได้ชัดเจนเหมือนเดิมหรือไม่ กับวาล์วควบคุมระบบต่างๆ ยังอยู่ในตำแหน่ง

          ปกติหรือไม่ และเกจ์วัดความดันของระบบต่างๆ ชี้ความดันที่เหมาะสมหรือไม่ อาจ

          จะมีการทดสอบบ้าง เช่น กดปุ่ม Lamp Test ที่บนตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

          (Fire Alarm Control Panel) เพื่อตรวจสอบ หลอดไฟสัญญาณของตู้ควบคุม และ

          เสียงแจ้งเตือน (Buzzer) เวลารับสัญญาณแจ้งเหตุ ซึ่งแทบจะไม่ได้ใช้งานเลยว่ายัง

          ทำงานได้ตามปกติหรือไม่ และ การติดเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับเคลื่อน ด้วยเครื่อง

          ยนต์ดีเซลชั่วขณะ (Fire Pump) มักจะทำนานพอที่จะให้อุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นสูง

          ขึ้นถึงจุดใช้งานปกติของเครื่องยนต์นั้นๆ และเกิดการไหลเวียนของน้ำหล่อเย็น ส่วน

          ใหญ่จะให้ช่างประจำสถานที่นั้นเป็นผู้จัดทำ พร้อมทำรายงานเก็บไว้เป็นรายสัปดาห์

 

    1.2. รายครึ่งปี หรือ เรียกอีกอย่างว่าสองครั้งต่อปี มักจะเป็นการทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับ

          เช่น Smoke Detector,Heat Detector,Beam Smoke Detector ,Flame Detector

          และ Manual Station โดยกระตุ้นให้อุปกรณ์ทำงาน และส่งสัญญาณไปที่ ตู้ควบคุม

          (Fire Alarm Control Panel) โดยก่อนทดสอบจะต้องเซ็ตให้ตู้ควบคุม ทำงานอยู่ใน

          รูปแบบของการทดสอบอุปกรณ์ (Test Mode) ก่อน คือ แม้จะมีสัญญาณเข้ามาแต่จะ

          ไม่นำสัญญาณนั้นมาสรุปผลว่าเป็นเพลิงไหม้แต่จะรับทราบว่าเป็นผลจากการทดสอบ

          การทดสอบรายครึ่งปีนี้ จะรวมไปถึงการทำความสะอาดอุปกรณ์ เช่น ถอดตัวอุปกรณ์

          (Detector) ต่างๆ ออกจากจุดแล้วนำมาเป่าด้วยลมเพื่อไล่ฝุ่นออกจากตัวอุปกรณ์กับ

          เช็ดทำความสะอาด กับการทำความสะอาดเลนส์ของ Beam Smoke Detectro และ

          Flame Detector และตรวจดูสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ Manual Station กับเช็ด

          ทำความสะอาด เมื่อถอดเอา Smoke หรือ Heat Detector ออกจากจุดก็ให้ถือโอกาส

          ทดสอบการเช็ควงจร (Supervisory Circuit) ของที่ตู้ควบคุมไปด้วย คือ เมื่อได้ถอด

          เอา Smoke หรือ Heat Detector ออกมาแล้วจะต้องมีสัญญาณแจ้งปัญหา (Trouble)

          ไปที่ตู้ควบคุมด้วย แสดงว่าตู้ควบคุมสามารถตรวจสอบได้ว่าเกิดปัญหากับอุปกรณ์ หรือ

          มีอุปกรณ์ถูกถอดออกไป สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector) อาจตัด

          ไฟเลี้ยงที่ตัวอุปกรณ์ เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของตู้ควบคุม ส่วนอุปกรณ์แจ้งเหตุ

          ด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) ให้ทดสอบโดยการ ดึง หรือ กด หรือไขกุญแจทดสอบ

          เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของตู้ควบคุม ในลักษณะเดียวกัน หลังจากที่ทดสอบการ

          เช็ควงจร (Supervisory Circuit) กับทำความสะอาด จึงต่อด้วยการทดสอบสัญญาณ

          ส่วนใหญ่จะให้บริษัทที่รับ “บำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้” เป็นผู้ทำให้

 

    1.3. รายปี หรือทดสอบใหญ่หนึ่งครั้งต่อปี จะเป็นการทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับที่มีทั้งหมด

          เช่น Smoke Detector,Heat Detector,Beam Smoke Detector ,Flame Detector

          และ Manual Station โดยกระตุ้นให้อุปกรณ์ทำงาน และส่งสัญญาณไปที่ ตู้ควบคุม

          (Fire Alarm Control Panel) โดยก่อนทดสอบจะต้องเซ็ตให้ตู้ควบคุม ทำงานอยู่ใน

          รูปแบบของการทดสอบอุปกรณ์ (Test Mode) ก่อน คือ แม้จะมีสัญญาณเข้ามาแต่จะ

          ไม่นำสัญญาณนั้นมาสรุปผลว่าเป็นเพลิงไหม้แต่จะรับทราบว่าเป็นผลจากการทดสอบ

          การทดสอบรายครึ่งปีนี้ จะรวมไปถึงการทำความสะอาดอุปกรณ์ เช่น ถอดตัวอุปกรณ์

          (Detector) ต่างๆ ออกจากจุดแล้วนำมาเป่าด้วยลมเพื่อไล่ฝุ่นออกจากตัวอุปกรณ์กับ

          เช็ดทำความสะอาด กับการทำความสะอาดเลนส์ของ Beam Smoke Detectro และ

          Flame Detector และตรวจดูสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ Manual Station กับเช็ด

          ทำความสะอาด เมื่อถอดเอา Smoke หรือ Heat Detector ออกจากจุดก็ให้ถือโอกาส

          ทดสอบการเช็ควงจร (Supervisory Circuit) ของที่ตู้ควบคุมไปด้วย คือ เมื่อได้ถอด

          เอา Smoke หรือ Heat Detector ออกมาแล้วจะต้องมีสัญญาณแจ้งปัญหา (Trouble)

          ไปที่ตู้ควบคุมด้วย แสดงว่าตู้ควบคุมสามารถตรวจสอบได้ว่าเกิดปัญหากับอุปกรณ์ หรือ

          มีอุปกรณ์ถูกถอดออกไป สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector) อาจตัด

          ไฟเลี้ยงที่ตัวอุปกรณ์ เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของตู้ควบคุม ส่วนอุปกรณ์แจ้งเหตุ

          ด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) ให้ทดสอบโดยการ ดึง หรือ กด หรือไขกุญแจทดสอบ

          เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของตู้ควบคุม ในลักษณะเดียวกัน หลังจากที่ทดสอบการ

          เช็ควงจร (Supervisory Circuit) กับทำความสะอาด จึงต่อด้วยการทดสอบสัญญาณ

          การทดสอบในรายปีนี้ จะต้องมีการเตรียมการที่รัดกุม เช่น แจ้งกับผู้อยู่ในอาคารทราบ

          ว่าจะมีสัญญาณเตือนภัย หรืออาจจะให้ทดสอบระบบนี้ไปพร้อมๆ กับการฝึกซ้อมรายปี

          ส่วนใหญ่จะให้บริษัทที่รับ “บำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้” เป็นผู้ทำให้

 

           การทดสอบในรายคาบนี้ไม่จำเป็นจะต้องทดสอบอุปกรณ์ให้หมดทุกชิ้นในคราวเดียว แต่

           อาจจะแบ่งระบบออกเป็นส่วนๆ เพื่อทดสอบเป็นคาบย่อยๆ ได้เช่น ทดสอบพวก Smoke

           Detector กับ Heat Detector กับ Beam Smoke Detector กับ Flame Detector และ

           Manual Station ทุกๆ เดือน โดยทำเดือนละ 1 ใน 6 ของจำนวน Detector ทั้งหมด ก็จะ

           ทำให้ Detector ทุกตัวผ่านการทดสอบปีละสองครั้งตามกำหนด การจัดแบ่งออกเป็นคาบ

           ย่อยๆ ทำให้สะดวกต่อการจัดการมากกว่าด้วย การบำรุงรักษาที่เหมาะสมจะช่วยให้ ระบบ

           แจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือ ระบบป้องกันอัคคีภัย คงสมรรถนะตามที่ออกแบบไว้ ทำให้แน่ใจ

           ได้ว่าระบบมีความไว้วางใจได้ตามปกติ และจะทำให้ลดโอกาสของการทำงานที่ผิดพลาด

 

 

 

      การตรวจสอบ กับทดสอบ และบำรุงรักษาระบบ มีรายละเอียดดังนี้

 

1. ตู้ควบคุม (Fire Alarm Control Panel) และตู้แสดงผล (Graphic Annunciator)

    1.1. ตรวจเช็คการเข้าสายต่างๆ ที่จุดปลายทาง (Terminal) บนบอร์ด (Board) และการ์ด

          (Cards) เชื่อมต่อต่างๆ ภายในตู้ควบคุม โดยเข้าสายให้เรียบร้อยในกรณีที่สายหลวม

          หรือไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง

    1.2. ตรวจเช็คแหล่งจ่ายไฟ และแบตเตอรี่ โดยดูขั้วต่อสาย กับวัดกระแสไฟเข้า-ออกปกติ

          หรือไม่

    1.3. ตรวจเช็คแบตเตอรี่ โดยดูขั้วต่อว่าเป็นสนิมหรือไม่ กับตรวจสอบวันหมดอายุ และวัด

          กระแสไฟเข้า-ออกปกติหรือไม่

    1.4. ตรวจเช็คดวงไฟ LED แสดงสถานะทุกๆดวง

    1.5. ตรวจเช็คสวิทซ์ (Switch) ควบคุมระบบต่างๆ

    1.6. ตรวจสอบหน้าจอ LCD หรือ LED และการแสดงผล

    1.7. ทำความสะอาด โดยการปัดฝุ่น และเช็ดทำความสะอาดตู้

 

2. ตรวจสอบปัญหา (Trouble) ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบ (กรณีเกิดปัญหา)

    2.1. เช็คว่าปัญหา (Trouble) ที่เกิดขึ้นจากสาเหตุใด

    2.2. สรุปปัญหาที่เกิดขึ้น และดำเนินการแก้ไข แต่หากเป็นปัญหาที่เกิดจากสายไฟฟ้า เช่น

          สายขาด กับสายหลุดจากจุดเชื่อมต่อ กับความผิดพลาดที่กราวนด์ (Ground Fault)

          หรือพบอุปกรณ์เสียหาย จำเป็นต้องตรวจเช็ค และแก้ไข หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ ควรแจ้ง

          ให้ผู้ว่าจ้างทราบค่าใช้จ่ายในส่วนที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมนี้ก่อนในรายงาน เพื่อให้ทาง

          ผู้ว่าจ้างอนุมัติสรุปค่าแก้ไขตามรายงาน

 

3. ทำการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ (Divice) ตามฟังก์ชั่น (Function) การทำงาน

    3.1. การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ชนิดต่างๆ จะทดสอบโดยการ

          ใช้อุปกรณ์ทดสอบตัวตรวจจับควัน (Smoke Detector Tester) เช่น สเปรย์ควันเทียม

    3.2. การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ชนิด ตรวจจับอุณหภูมิที่เพิ่ม

          ขึ้นเกินกว่าที่กำหนดไว้ (Rate of Rise) ทดสอบโดยการใช้อุปกรณ์เป่าลมร้อน

    3.3. การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ชนิด ตรวจจับอุณหภูมิคงที่

          สูงมากกว่าที่กำหนดไว้ (Fixed Temperature) ทดสอบโดยการวัดค่าที่สายไฟเข้าตัว

          อุปกรณ์ว่าปกติหรือไม่

    3.4. การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ทั้งชนิดตรวจจับอุณหภูมิคงที่

          และตรวจจับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าที่กำหนด (Rate of Rise /Fixed Temperature)

          ทดสอบโดยการวัดค่าที่สายไฟเข้าตัวอุปกรณ์ว่าปกติหรือไม่ กับใช้อุปกรณ์เป่าลมร้อน

    3.5. การทดสอบอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) ทดสอบโดยการใช้งานจริง

          เช่น ดึงคันโยกลง (Pull Down) หรือกดปุ่ม (Push Button) หรือแบบทุบกระจกให้แตก

          (Breakglass)

    3.6. ทดสอบสัญญาณการแจ้งเตือนปัญหา (Trouble) ทดสอบโดยการทำให้เกิดปัญหา เช่น

          ปลดสายโซนอุปกรณ์ตรวจจับ (Zone Detector) ออกจากบนบอร์ดแผงวงจรที่ตู้ควบคุม

          หรือถอดออกจากอุปกรณ์โมดูลที่ควบคุม (Module) หรือให้ถอดอุปกรณ์ตรวจจับส่วนหัว

          (Head Detector) ออกจากฐานอุปกรณ์ (Detector Base) หรือ ถอดอุปกรณ์ต่างๆ ออก

          จากระบบ แล้วรอดูผลการแจ้งปัญหาว่าตรงตามที่ได้ทำให้เกิดปัญหาไปหรือไม่

    3.7. ทดสอบสัญญาณแจ้งเตือน (Alarm) ที่เกิดจากอุปกรณ์ตรวจจับ (Detector) ต่างๆ และ

          อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) ตามฟังก์ชั่น (Function) การแจ้งเตือน

          แบบต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้

 

4. สรุปปัญหาและผลการทดสอบทั้งหมดตั้งแต่ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 3 ลงในบันทึก เพื่อทำรายงาน

    ส่งให้ทางผู้ว่าจ้าง

 

 

    เงื่อนไขการให้บริการ : บำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้

    Terms of Service : Preventive Maintenance Fire Alarm System

 

1. ต้องเป็นอุปกรณ์ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ แบรนด์ที่ทางบริษัทฯ รับให้การบริการบำรุงรักษา

    ระบบเท่านั้น คือ Notifier หรือ System Sensor กับ GE หรือ Edwards (เดิม) หรือ BOSCH

 

2. ผู้ที่ต้องการใช้บริการบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ต้องแจ้งข้อมูลระบบอุปกรณ์ที่ใช้

    งานอยู่ให้ทางบริษัทฯ ทราบก่อนเพื่อนำเสนอราคาให้ ดังนี้

    2.1. แบรนด์ กับรุ่น และจำนวนโซนของ ตู้ควบคุมระบบ (Fire Alarm Control Panel) ที่

            มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน

    2.2. แบรนด์ กับรุ่น และจำนวนทั้งหมด ของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ที่

            มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน

    2.3. แบรนด์ กับรุ่น และจำนวนทั้งหมด ของ อุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสงบีม (Beam

            Smoke Detector) ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน

    2.4. แบรนด์ กับรุ่น และจำนวนทั้งหมด ของ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)

            ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน

    2.5. แบรนด์ กับรุ่น และจำนวนทั้งหมด ของ อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector)

            ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน

    2.6. แบรนด์ กับรุ่น และจำนวนทั้งหมด ของ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station)

            ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน

    2.7. แบรนด์ กับรุ่น และจำนวนทั้งหมด ของ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน (Audible Alarm

            Devices) ที่มีใช้งานอยู่ เช่น Bell ,Horn ,Strobe และ Horn-Strobe หรือ Speaker

    2.8. การเดินสายนำสัญญาณของ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน เช่น

            – เดินสายนำสัญญาณระบบอุปกรณ์ไว้ แบบ 2 สาย (Two-Wire) Class-B

            – เดินสายนำสัญญาณระบบอุปกรณ์ไว้ แบบ 4 สาย (Four-Wire) Class-A

    2.9. แบบการวางระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Riser Diagram Fire Alarm System) ล่าสุดที่

            ใช้งานอยู่ปัจจุบัน

 

3. ต้องการใช้บริการบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ แบบใด

    3.1. รายครึ่งปี หรือ 2 ครั้งต่อปี จะให้บริการบำรุงรักษาระบบ 6 เดือนต่อ 1 ครั้ง รวม 2 ครั้ง

            ในการให้บริการ 1 ปี

    3.2. รายปี หรือ 1 ครั้งต่อปี จะให้บริการบำรุงรักษาระบบเพียง 1 ครั้งภายใน 1 ปี

 

 

 

 

สอบถามข้อมูลโดยตรงได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-740-3975 – 6

 

ไม่ตอบปัญหาลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการกับทางบริษัทนี้

 

 

Powered by WordPress | T-Mobile Phones for Sale at BestInCellPhones.com | Thanks to Free Phones at iCellPhoneDeals.com, Free MMORPG Games and Fat burning furnace review
Mr. Somboon Kangsanonkul