Mr. Somboon Kangsanonkul

กฎมาตรฐานและการติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย

กฎและมาตรฐานของการติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย

 

 

กฎควบคุมและมาตรฐานของระบบ

 

? กฎหมายการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ

? กฎหมายและบทความต่างๆจาก สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย

? คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานแบบต่างๆ

? กฎหมายและมาตรฐานอาคาร

? กฎหมายข้อกำหนดควบคุมอาคาร 2553

? การดำเนินงานเพื่อให้ได้มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย

? ประกาศกระทรวงฯ ในเรื่องระบบป้องกันอัคคีภัย

? ระวังไฟ…ก่อนภัยจะมา

? ชั้นของไฟ

? ทฤษฎีของไฟ

? เริ่มแล้วกฎหมายใหม่บังคับโรงงานเสี่ยงไฟไหม้

? ระบบป้องกันเพลิงไหม้ในอาคารสูง

? ทำไมต้องติดตั้งระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้

? รวมระบบป้องกันอัคคีภัยทุกแบรนด์ที่มีจำหน่ายในประเทศไทย

? แผนแม่บทระบบรักษาความปลอดภัย

? คู่มือความปลอดภัยด้านอัคคีภัยภายในอาคาร

? คู่มือมาตรการป้องกันและระงับอัคคีภัย

? เครื่องมือดับเพลิง

? แบบรายงานผลการซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมหนีไฟ

? แบบสำรวจถังดับเพลิง

? ปั๊มน้ำดับเพลิง

? ระบบท่อยืน ที่เก็บสำรองน้ำ และหัวฉีดน้ำดับเพลิง

? มาตรฐานงานติดตั้งไฟฟ้าทั่วไป

? ไฟฟ้าแรงสูงคืออะไร ทำไมจึงต้องใช้ไฟฟ้าแรงสูง

? ผู้ตรวจสอบอาคาร คือใครและทำไมต้องมี

? ระบบป้องกันอัคคีภัยที่ดี กับมีมาตรฐานสูง และราคาเหมาะสม

 

ข้อกำหนดคุณสมบัติอุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัยและการติดตั้ง

 

? 1. ข้อกำหนดการออกแบบติดตั้งชิ้นส่วนโครงสร้างทนไฟ

? 2. ข้อกำหนดการออกแบบติดตั้งวัสดุและอุปกรณ์ป้องกันการลามไฟ

? 3. ข้อกำหนดการควบคุมการใช้งานวัสดุภายในอาคาร

? 4. มาตรฐานการทดสอบการทนไฟของชิ้นส่วนโครงสร้างและส่วนประกอบอาคาร ภาคที่ 1

? 5. มาตรฐานการทดสอบการทนไฟของชิ้นส่วนโครงสร้างและส่วนประกอบอาคาร ภาคที่ 2

? 6. มาตรฐานการทดสอบการทนไฟของชิ้นส่วนโครงสร้างและส่วนประกอบอาคาร ภาคที่ 3

? 7. มาตรฐานการทดสอบการทนไฟของชิ้นส่วนโครงสร้างและส่วนประกอบอาคาร ภาคที่ 4

? 8. มาตรฐานการทดสอบการเผาไหม้ของวัสดุตกแต่งผิว

? 9. มาตรฐานการทดสอบการทนไฟวัสดุป้องกันการลามไฟ _Fire stop

? 10. มาตรฐานการทดสอบการไม่เผาไหม้ของวัสดุและผลิตภัณฑ์

? 11. มาตรฐานการทดสอบปฏิกิริยาจากการเผาไหม้สำหรับผลิตภัณฑ์ ภาคที่ 1

? 12. มาตรฐานการทดสอบปฏิกิริยาจากการเผาไหม้สำหรับผลิตภัณฑ์ ภาคที่ 2

? 13. มาตรฐานการทดสอบแรงยึดเหนี่ยววัสดุพ่นเคลือบผิวทนไฟ

? 14. มาตรฐานการทดสอบรังสีความร้อนวิกฤติสำหรับวัสดุผิวพื้น

? 15. มาตรฐานการทดสอบพฤติกรรมการเผาไหม้ของวัสดุตกแต่งผิวในห้องทดสอบ

? 16. มาตรฐานบาร์ผลักประตูฉุกเฉิน

? 17. มาตรฐานอุปกรณ์ดึงประตูปิด

? 18. มาตรฐานเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

? 19. มาตรฐานมอเตอร์เครื่องสูบน้ำดับเพลิง

? 20. มาตรฐานเครื่องยนต์ดีเซลขับเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

? 21. มาตรฐานแผงควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิง

? 22. มาตรฐานข้อต่อยืดหยุ่นได้ในระบบป้องกันอัคคีภัย

? 23. มาตรฐานข้อต่อและส่วนประกอบท่อที่ติดตั้งเหนือพื้นดินในระบบป้องกันอัคคีภัย

? 24. มาตรฐานเกจวัดแรงดันและแรงดูดสุญญากาศ

? 25. มาตรฐานอุปกรณ์ตรวจจับการไหลของน้ำในระบบท่อดับเพลิง

? 26. มาตรฐานวาล์วควบคุมแรงดัน

? 27. มาตรฐานวาล์วกันกลับในระบบท่อน้ำดับเพลิง

? 28. มาตรฐานวาล์วสัญญาณเตือนภัย

? 29. มาตรฐานวาล์วสายฉีดน้ำดับเพลิง

? 30. มาตรฐานหัวรับน้ำดับเพลิง

? 31. มาตรฐานสายฉีดน้ำดับเพลิง

? 32. มาตรฐานหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ

? 33. มาตรฐานระบบดับเพลิงด้วยสารเคมีเปียก

? 34. มาตรฐานเครื่องดับเพลิงแบบยกหิ้วชนิดสารสะอาด

? 35. มาตรฐานแผงควบคุมระบบแจ้งเหตุเพิลงไหม้

? 36. มาตรฐานอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ

? 37. มาตรฐานอุปกรณ์ตรวจจับควัน

? 38. มาตรฐานอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน

? 39. มาตรฐานอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยเสียง

? 40. มาตรฐานอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยแสง

? 41. มาตรฐานอุปกรณ์ตรวจจับก๊าซ

? 42. มาตรฐานลิ้นกันไฟ

? 43. มาตรฐานลิ้นกันควัน

 

คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน

 

? คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานผลิตพลาสติก และโฟม

? คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานทำเครื่องเรือน

? คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานแปรรูปไม้

? คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานผลิตเส้นใย ทอผ้า ย้อมผ้า และตัดเย็บเสื้อผ้า

? คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานผลิตแป้งจากพืช

? คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานผลิตสี และทินเนอร์

? คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานผลิตยางเรซิ่งสังเคราห์ และเส้นใยสังเคราะห์

? คู่มือการป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงานผลิตกระดาษ และภาชนะบรรจุจากกระดาษ

? กฎหมายความปลอดภัยต่างๆ และบทความดีๆ จาก สำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย

? กฎหมายการป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการ

 

 

แบบฟอร์มการตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัยประเภทต่าง ๆ (สปภ.1-9)

 

1. สปภ.1 แบบตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารชุมนุม

2. สปภ.2 แบบตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารขนาดใหญ่

3. สปภ.3 แบบตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ

4. สปภ.4 แบบตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารโรงมหรสพ

5. สปภ.5 แบบตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารเก่า ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 47
    (พ.ศ.2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

6. สปภ.6 แบบตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารสถานบริการ

7. สปภ.7 แบบตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารบรรจุและเก็บก๊าซ

8. สปภ.8 แบบตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารคลังน้ำมัน

9. สปภ.9 แบบตรวจสอบระบบป้องกันอัคคีภัยในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ
    และคนชรา

 

 

การใช้มัลติมิเตอร์ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้า

การใช้มัลติมิเตอร์ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้า

 

 

วิธีการใช้มัลติมิเตอร์ตรวจเช็คกระแสไฟฟ้า

เครื่องมือชิ้นหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อการทำงานทางด้านช่างอย่างมาก และถือว่าเป็นพื้นฐาน

เครื่องมือประเภทตรวจวัด ที่ช่างและผู้ใช้งานทั่วๆไป ควรต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้

งานอย่างถูกต้อง เพื่อประสิทธิภาพและความสัมฤทธิผลของการทำงานให้เป็นไปได้อย่าง

รวดเร็ว เครื่องที่ว่านี้ถูกเรียกกันในนามว่า”มัลติมิเตอร์”

มัลติมิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่รวมหลายๆ คุณสมบัติในการตรวจเช็คเข้าไว้ด้วยกันนั่นเอง เช่น

ความสามารถในด้านการตรวจวัดแรงเคลื่อน ของ กระแสไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Volt) ,

ความสามารถในการตรวจวัด กระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC Volt) , ความสามารถในการ

ตรวจวัดความต้านทานนของอุปกรณ์ , ความสามารถในการวัดกระแสไฟฟ้า (Amp. Meter)

และ ความสามารถในการตรวจวัดการขาดต่อของจุดเชื่อมต่อต่างๆ สำหรับบทความนี้ ผู้

เขียนจะขออธิบายการใช้ มัลติมิเตอร์ ยี่ห้อที่โด่งดังยี่ห้อหนึ่งนั่นก็ คือ SANWA ซึ่งเป็น

ยี่ห้อที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่ช่าง มิเตอร์นั้นมีทั้ง แบบเข็มที่เรียกกันว่า อะนาล็อก

และ แบบตัวเลข ที่เรียกว่า ดิจิตอล การใช้งานนั้นโดยหน้าที่แล้วก็มีความเหมือนกันทั้งนั้น

อยู่ที่การดูอ่านค่าที่ได้รับและความไว กับอาจจะรวมถึงคุณสมบัติที่พิเศษเพิ่มเติมจากแบบ

เข็มก็แล้วแต่ละยี่ห้อ และรุ่นของมิเตอร์ดิจิตอลรุ่นนั้นๆ บางท่านใช้มิเตอร์วัดแบบไม่มีความ

เข้าใจที่ถูกต้อง โดยคิดว่าเมื่อวัดอะไรก็แล้วแต่ถ้าเข็มมิเตอร์มีการเคลื่อนตัวจากซ้ายมือไป

ทางขวามือนั้นก็จะถือว่าอุปกรณ์นั้นๆ มีสภาพดีตลอด ซึ่งถือว่าเป็นความคิดที่ยังผิดๆอยู่ครับ

เมื่อได้อ่านบทความนี้แล้ว ท่านจะมีความเข้าใจที่ดีขึ้นครับ

 

SANWA เป็นมิเตอร์แบบเข็ม (Analog) ที่ใช้งานง่ายๆด้วยปุ่มบิดเลือกการทำงานแบบต่างๆ

การอ่านค่าบนหน้าปัทม์ มีใช้อยู่ 4 สเกล ได้แก่ สเกล 10 , 50 , 250 , 1000 (อ่านที่ 10 แล้ว

คูณ 100)

 

การวัดแรงไฟกระแสสลับ,กระแสตรง

ตัวอย่างที่ 1

ถ้าเราวัดไฟไม่ว่า AC หรือ DC ที่มีแรงเคลื่อนสมมุติว่า 10 โวลท์ เราก็อ่านค่าสเกลที่ 50 เข็มก็

จะชี้มาที่เลขประมาณ 10 นั่นเอง

ตัวอย่างที่ 2

ถ้าเราวัดไฟไม่ว่า AC หรือ DC ที่มีแรงเคลื่อนสมมุติว่า 200 โวลท์ เราก็อ่านค่าสเกลท 250 เข็มก็จะชี้มาที่เลขประมาณ 200 เช่นกัน

ตัวอย่างที 3

ถ้าเราวัดไฟไม่ว่า AC หรือ DC ที่มีแรงเคลื่อน สมมุติว่า 800 โวลท์ เราก็อ่านค่าสเกลท 10 เข็มก็จะชี้มาที่เลขประมาณ 8 เมื่ออ่านได้ก็ให้คูณด้วย 100 ก็จะได้เป็น 800 ครับ

 

การวัดแรงไฟกระแสสลับ (ไฟบ้าน)

จากความรู้เรื่องของแรงเคลื่อนไฟฟ้า และการเกิดกระแสไฟฟ้าตามที่ได้แนะนำไว้ไปแล้วนั้น หาก

ว่าเราต้องการวัดแรงไฟบ้านซึ่งเป็นกระแสสลับนั้น เราจะต้องหมุนลูกบิดไปที่ตำแหน่ง AC Volt

ซึ่งจะสามารถวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าได้สูงถึง 1,000 โวลท์ แต่เนื่องจากเราทราบอยู่แล้วว่า แรง

เคลื่อนไฟบ้านในเมืองไทยนั้นมีค่าอยู่ที่ 220 โวลท์ โดยประมาณ ดังนั้นเราจึงบิดลูกบิดไปที่

250 โวลท์ AC ซึ่งเราจะต้องตั้งย่านให้สูงกว่าแรงไฟที่เราจะทำการวัด (สรุปก็คือต้องตั้งย่านการ

วัดให้สูงไว้ก่อน มิฉะนั้นอาจทำให้มิเตอร์ของเราเสียหายได้ เช่น ย่านมิเตอร์ตั้งอยู่ที่ 10 โวลท์ AC

แล้วเราก็นำไปวัดไฟบ้าน ที่มีแรงเคลื่อนถึง 220 โวลท์ AC ) เมื่อพร้อมแล้วก็ให้ไปนำเอาสาย

โพ๊ปสีแดง และสีดำเสียบเข้ากับปลั๊กไฟที่เราไว้เสียบ พวกอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านนั่นเอง

ตรงนี้ก็ต้องขอเตือนไว้ก่อนว่าเรากำลังเล่นกับไฟฟ้า 220 โวลท์ ดังนั้นห้ามสัมผัสกับส่วนที่เป็น

โลหะของสายโพ๊ปสีแดง และสีดำนะครับ เพราะจะทำให้คุณถูกไฟดูดเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

 

การวัดแรงไฟกระแสตรง

ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟที่มี ขั้วบวก และ ขั้วลบ คงที่ เช่น ถ่านไฟฉาย ,แบตเตอรี่รถยนต์ ,หม้อ

แปลงไฟ ดีซี (DC Adaptor) ซึ่งถ้าเราจะทำการวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรงนี้ จะต้องวัดให้

ถูกขั้วบวก และขั้วลบ มิฉะนั้นจะไม่สามารถอ่านค่าแรงไฟได้ถูกต้อง ( หากต่อกลับขั้วจะทำให้เข็ม

มิเตอร์ตีลงทางซ้ายสุด ) ก่อนการวัดเราจะต้องทราบว่าแหล่งจ่ายไฟนั้นมีแรงเคลื่อนอยู่ที่เท่าไหร่

จากนั้นเราจึงทำการตั้งย่านของมิเตอร์ ไปที่ตำแหน่งการวัดนั้น โดยต้องตั้งให้มีค่าสูงกว่าแหล่ง

จ่ายไฟที่เราจะทำการวัด ตัวอย่างเช่น เราจะทำการวัดถ่านไฟฉาย 1 ก้อน ซึ่งทั่วๆไปจะมีแรงไฟ

อยู่ที่ 1.5 โวลท์ดีซี เราก็บิดลูกบิดเลือกย่านไปที่ 10 โวลท์ดีซี แล้วนำสายโพ๊ปสีแดงไปแตะที่

ขั้วบวกของถ่านไฟฉาย และสายโพ๊ปสีดำแตะที่ขั้วลบของถ่านไฟฉาย จากนั้นให้อ่านแรงไฟที่

หน้าปัทม์ของมิเตอร์ ตรงสเกลตัวเลข 0 – 10 ถ้าถ่านไฟฉายนั้นมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า ก็จะทำให้

เข็มสวิงมาอยู่ที ประมาณ 1.5 โวลท์ ( อ่านสเกล10 ที่มีตัวเลข 0 2 4 6 8 10 1.5 จะอยู่ก่อนถึง

เลข 2 )

 

การวัดการขาดต่อของสายหรือลายวงจร

ตัวอย่างที่ 1

ถ้าต้องการที่จะวัดสายไฟเส้นหนึ่งว่ามีการขาดภายใน หรือ ไม่ ก็ให้บิดลูกบิดไปที่การวัดโอมห์ ที่

ตำแหน่ง Rx1 แล้วนำสายโพ๊ปสีแดงและดำมาแตะกัน จะปรากฏที่หน้าปัทม์ของมิเตอร์ว่า เข็มจะมี

การสวิงไปทางขวามือ ให้ทำการปรับให้อยู่ตำแน่งที่ศูนย์โอมห์ (อยู่ขวาสุดของด้านบนหน้าปัทม์)

เมื่อปรับเรียบร้อยแล้วก็ให้ไปนำสายโพ๊ปข้างใดข้างหนึ่งไปแตะปลายสายข้างหนึ่งของสายไฟ

ส่วนสายโพ๊ปที่เหลือก็ให้ไปแตะที่ปลายอีกข้างหนึ่งของสายไฟเช่นกัน ถ้าปรากฏว่าเข็มมิเตอร์

มีการสวิงจากซ้ายไปขวาจนถึงตำแหน่งศูนย์โอมห์ แสดงว่าสายไม่ขาดใด แต่ถ้าได้ทำตามคำแนะ

นำข้างต้นแล้วเข็มมิเตอร์ไม่มีการสวิงจากซ้ายไปขวา(อยู่นิ่งๆ) แสดงว่าสายมีการขาดใน

 

การวัดค่าความต้านทาน (Resistor)

? คลิกดูหลักการเบื้องต้นของตัวต้านทาน »

? คลิกดูชนิดของตัวต้านทาน »

? คลิกดูหน่วยของความต้านทาน »

? คลิกดูการอ่านค่าความต้านทาน »

? คลิกดูการวัดค่าความต้านทานของตัวต้านทาน »

? คลิกดูความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรมไฟฟ้า »

? คลิกดูการวัดกระแสไฟฟ้า, แรงดันไฟฟ้า และความต้านทาน »

 

ตัวอย่างที่ 1

ถ้าต้องการจะวัดค่าความต้านทานตัวหนึ่งที่ทราบค่าโดยการอ่านสีแล้ว ว่าเป็นค่าความต้านทาน

เท่ากับ 10 โอมห์ แต่ความต้านทานตัวนี้อาจจะมีค่าที่สูงกว่า 10 โอมห์ หรือ ขาดก็เป็นไปได้ให้เรา

บิดลูกบิดไปที่จุดการวัดค่าความต้านทาน (ควรรู้ค่าความต้านทานก่อนแล้วค่อยวัดว่าได้ค่าความ

ต้านทานตามที่ระบุไว้ที่ตัวความต้านทาน หรือไม่ครับ)

 

ดาวน์โหลดคู่มือการใช้มัลติมิตเตอร์ คลิกที่นี่

 

 

 

Powered by WordPress | T-Mobile Phones for Sale at BestInCellPhones.com | Thanks to Free Phones at iCellPhoneDeals.com, Free MMORPG Games and Fat burning furnace review
Mr. Somboon Kangsanonkul